Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชีวประวัติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชีวประวัติ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

แอบปิติ กับวันเกิด ในปี พ.ศ.๒๕๓๙

 แอบปิติ กับวันเกิด ในปี พ.ศ.๒๕๓๙

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙ 
ได้รับคำสั่งให้ย้าย
จาก อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี 
กลับมาเป็น "ภัณฑารักษ์ ๗"
ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา 
วันนี้เป็นวันเกิด เช้าออกไปใส่บาตร 
อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และตัวเอง 
ได้รับหมายให้ไปเฝ้าที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร 
พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา 
คืนนี้ มีครูเปียโน ศิลปินแห่งชาติฝรั่งเศส ตามเสด็จมาด้วย 
หลังเสวยมีรายการเต้นรำ 
สนุกสนานเหมือน
ได้รับพระราชทานเลี้ยงฉลองวันเกิดไปด้วยโดยปริยาย.




ถวายการรับใช้ที่ พระนครศรีอยุธยา ขณะที่ รับราชการที่ชายแดน กาญจนบุรี

 ถึงจะต้องถูกย้ายไปรับราชการที่ชายแดน (กาญจนบุรี)

ก็ยังต้องกลับมาถวายการรับใช้ที่ พระนครศรีอยุธยา

วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘ 
ได้รับแจ้งข่าวหมายเสด็จพระตำหนักสิริยาลัย 
และให้ไปเข้าเฝ้าตามปกติ 
จึงต้องเดินทางจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี 
มาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
คุณไข่มุกด์ ชูโต ให้ไปพบที่บ้านพักก่อนเดินทางไปอยุธยา 
ได้รับ เหรียญรัชกาลที่ ๕  ๑ เหรียญ 
ตอนเย็นเดินทางไป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
รอจน ๒๐ น. จึงเข้าไปรอรับเสด็จฯ 
นายบรรจง กันตวิรุฒ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
และข้าราชการอื่น ๆ ที่ไปรอรับเสด็จฯ  ทั้งหมด
ได้รับอนุญาตให้กลับก่อนได้ 
เพราะเป็นงานฉลองปีใหม่ภายในส่วนพระองค์  
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 
มีพระราชเสาวนีย์
ให้นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ 
เป็นตัวแทนพระองค์ นั่งรถตำรวจ 
นำพวงมาลาไปสักการะที่พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย 
และเจดีย์เจ้าฟ้ากุ้ง ที่วัดไชยวัฒนาราม 
เป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 
ที่มีความสุข และปลื้มปิติ เป็นอย่างยิ่งครั้งหนึ่งในชีวิต 
ประทับอยู่ที่พระตำหนักสิริยาลัย จน ๐๕ น.เศษ 
จึงเสด็จฯกลับพระตำหนักสวนจิตรลดา



วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2567

สมบัติวังหน้าอยุธยา หนังสือพิมพ์ สยามนิวส์ มิถุนายน ๒๕๓๙

 เช้าวันนี้...ฟื้นความรู้วังหน้าของรัตนโกสินทร์

แต่ไปเจอ "สมบัติวังหน้าอยุธยา"

ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  "สยามนิวส์"
ฉบับ มิถุนายน ๒๕๓๙
ของ "น้องแดง" นักข่าวที่รัก
คิดถึงน้าา ไม่รู้ไปเกิดรึยัง ?



สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินปิดทองพระมงคลบพิตร พ.ศ.๒๕๓๖

 วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๖

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 
เสด็จพระราชดำเนินปิดทองพระมงคลบพิตร 
และทรงเปิดงานฉลองพระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลก
เป็นปฐม แล้วเสด็จกลับพระตำหนักสิริยาลัย.



วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัยตอนที่ ๕

 เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย

ตอนที่ ๕ "สมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย"

วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ 

รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ เจดีย์ศรีสุริโยทัย
วันนี้ทั้งวันเป็นการเตรียมการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 
จะเสด็จพระราชดำเนินมาในช่วงเวลาเย็น 
เพื่อทรงบรรจุพระสารีริกธาตุลงในเจดีย์แก้วผลึกจำลอง 
ใน พระราชพิธีสมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย 
เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึง
ทรงประกอบพระราชพิธีอัญเชิญเจดีย์พระบรมธาตุจำลอง
ขึ้นสู่ที่บรรจุบนคอระฆังขององค์พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
ทรงจุดเทียนชนวนพระราชทานแก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 
สำหรับจุดดอกไม้เพลิงและพลุ ถวายเป็นพุทธบูชา 
เวลา ๑๘.๔๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ไปยังบริเวณทุ่งมะขามหย่อง เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่ ทุ่งมะขามหย่อง แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ
ในเวลา ๒๐ นาฬิกา ๓๙ นาที ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ 
ให้พราหมณ์เบิกแว่น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด 
คณะกรรมการทุกฝ่าย ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
และข้าราชการรับแว่นเวียนเทียน
สมโภชองค์พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย 
เป็นอันเสร็จพระราชพิธีสมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย แต่เพียงนั้น









เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัยตอนที่ ๓

 เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย

ตอนที่ ๓ : “ขอบใจ ขอบใจ ที่เอาเราลงมาอยู่ข้างล่าง อยู่ข้างบนอึดอัดมาก”

เมื่อก่อนจะมีการบูรณะพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
ภายในคูหาของพระเจดีย์ มี
รูปหล่อสมเด็จพระสุริโยทัย ที่ประดิษฐานอยู่องค์หนึ่ง 
กับรูปเขียนรูปหนึ่ง 
รูปหล่อโลหะนั้น มีขนาดและน้ำหนักมิใช่น้อย 
การที่คนสร้าง จะนำขึ้นไปประดิษฐานไว้ 
ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย 
เพราะบันไดค่อนข้างสูงและชัน  
ข้าพเจ้าได้สอบถาม ว่า ใครเป็นเจ้าของ หรือนำขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ?
ก็ไม่มีใครทราบว่าเป็นของใครผู้ใด 
และนำขึ้นไปประดิษฐานไว้บนนั้นตั้งแต่เมื่อไร 
ครั้นจะอัญเชิญลง ก็ไม่มีผู้ใดกล้าจะไปอัญเชิญลงมา 
และเมื่อนำลงมา ก็ไม่ทราบว่า จะนำพระรูปองค์นี้ไปไว้ที่ใด
วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔
ขบวนแห่ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิตื์ฑีฆายุมงคล 
ได้อัญเชิญ มาถึงพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
ช้าพเจ้าในฐานะ
หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 
และเป็นคณะทำงานพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยด้วย ในขณะนั้น
จึงอาสาที่จะเป็นผู้อัญเชิญพระรูปพระสุริโยทัย องค์ดังกล่าว 
รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ อันเป็นบริวาร เช่น ภาพเขียน รูปถ่าย ฯลฯ และบริวาร 
ลงมาจากเจดีย์เอง 
โดยให้เจ้าหน้าที่ช่วยยกพระรูปมาขึ้นบนเกริ่น 
และนำลงมาได้อย่างสะดวก
เมื่อ "พระรูปพระสุริโยทัย" นำลงมาถึงพื้นล่าง แล้ว
จึงมีที่รองรับ คือ นำไปประดิษฐานไว้บนพลับพลารับเสด็จ 
ที่ถูกยกเลิกไม่ได้ใช้งานเป็นพลับพลารับเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ แล้ว 
ระหว่างที่อัญเชิญพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัย 
ไปที่พลับพลารับเสด็จ 
มีสตรีนางหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าราชการ
อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
แต่งกายนุ่งซิ้นด้วยเสื้อผ้าสีขาวครีม 
ยกมือพนมและเดินตามพระรูปไปด้วย
พร้อมทั้งพูดไปด้วยตลอดเวลา ว่า 
“ขอบใจ ขอบใจ ที่เอาเราลงมาอยู่ข้างล่าง อยู่ข้างบนอึดอัดมาก”
จึงนับเป็นเหตุการณ์ที่ประจวบกับอย่างเหมาะสมที่สุด
เชื่อหรือไม่เชื่อ แต่อย่าลบหลู่




ขบวนแห่ "พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล" มาประดิษฐานในช่องคูหาพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔



ภุชงค์ จันทวิช ขบวนแห่ "พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล" มาประดิษฐานในช่องคูหาพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔



ขบวนแห่ "พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล" มาประดิษฐานในช่องคูหาพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔



พลเอกชัยนันท์ เจริญศิริ และ นายอาวุธ เงินชูกลิ่น ผู้อำนวยการการอัญเชิญ พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติ์ฑรฆายุมงคล ขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์ศรีสุริโยทัย



พระรูปหล่อโลหะ "สมเด็จพระสุริโยทัย"



พลับพลารับเสด็จ ใช้เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระสุริโยทัย มาตั้งแต่ เริ่มต้น (๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔)



พลับพลารับเสด็จ ใช้เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระสุริโยทัย ในปัจจุบัน



เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย ตอนที่ ๒

 เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย

ตอนที่ ๒ : ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ?

ภายหลังจากการบูรณะและปิดทอง พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย เสร็จ
(ตามจำนวนทองเท่าที่หาได้ในช่วงเวลานั้น)
 จึงมาถึงขั้นตอนที่จะอัญเชิญพระพุทธสุริโยทัยสิริกิติ์ฑีฆายุมงคล  
ขึ้นประดิษฐานในช่องคูหาเจดีย์ศรีสุริโยทัย 
ซึ่งกำหนดไว้ ก่อนหน้านี้ ประมาณเกือบ ๒ เดือน 
ในช่วงเวลานั้น 
มีข่าวว่า จะเสด็จพระราชดำเนินมาทางชลมารค
เพื่อทรงอัญเชิญพระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคล 
ขึ้นประดิษฐานในช่องคูหาบนเจดีย์ศรีสุริโยทัย  
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังที่ทรงพระราชดำริ
คณะทำงานจึงรีบสร้างศาลาท่าน้ำที่จะรอรับเสด็จ 
ประตูและทางเสด็จ รวมทั้งพลับพลารับเสด็จ 
ไว้ในสถานที่แห่งหนึ่งทางด้านหลัง (ทิศใต้) พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย 
เมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาวันจะเสด็จพระราชดำเนิน
มาสมโภชและอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์ศรีสุริโยทัย
เมื่อสำนักพระราชวังมาตรวจสอบ สถานที่ ๆ จะประกอบพระราชพิธี 
ได้ให้ความเห็นว่า สถานที่ดังกล่าว 
ไม่เหมาะสมเพราะอยู่ทางด้านหลังของเจดีย์ 
ศาลาท่าน้ำ และ พลับพลารับเสด็จ ดังกล่าว 
จึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย 
รวมทั้ง ปรับแผนการเสด็จพระราชดำเนินเป็น 
เสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ แทนการเสด็จทางชลมารค  
ดังนั้น ทั้งศาลาท่าเสด็จ และพลับพลารับเสด็จ 
จึงไม่ได้ใช้งานทั้งสองกรณี 
สำนักพระราชวัง ได้กำหนดสถานที่
ให้ตั้งเต้นท์เป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราว 
สำหรับประกอบพระราชพิธีอัญเชิญ 
พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานในช่องคูหา 
ไว้ตรงกับบันไดทางขึ้นด้านหน้า (ทิศเหนือ) 
และ ทำเกรินสำหรับจะเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานไว้ทางด้านหน้าตรงช่องประตูด้วย.




ศาลาท่าน้ำรับเสด็จทางชลมารค ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้เวลาในการสร้าง ๔๕ วัน





พลับพลารับเสด็จ ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค หน้าบันปั้นสดโดยช่างปั้นเมืองเพชรบุรี



วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย ตอนที่ ๑

 เบื้องหน้าและเบื้องหลัง เจดีย์ศรีสุริโยทัย

ตอนที่ ๑ 

"เจดีย์ศรีสุริโยทัย" เป็นเจดีย์ประธานของ"วัดสวนหลวง" 
ที่รวมเอา "วัดสบสวรรค์"เข้าไว้เป็นพื้นที่เดียวกัน
ภายหลังจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ 
สร้างวัดสวนหลวงอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล 
แด่ สมเด็จพระสุริโยทัย
โดย สร้างพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ให้เป็นประธานของวัด
กาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงไป
ของพระนครศรีอยุธยา ทำให้ "วัดสวนหลวงสบสวรรค์"
กลายสภาพเป็นวัดร้าง 
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
ได้มาทรงปฏิสังขรณ์ ฟื้นฟู 
และโปรดฯ ให้เรียก พระเจดีย์องค์นี้ ว่า "พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย”
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีพระราชดำริ รำลึกถึงสมเด็จพระสุริโยทัย ว่า
พระองค์ทรงเป็นถึง "พระมเหสีของพระมหากษัตริย์" 
สู้สละพระชนม์ชีพ เพื่อพระสวามีและแผ่นดิน
แต่ก็ยังไม่มีใครระลึกถึง 
หรือ สร้างพระราชานุสาวรีย์ ให้
เพื่อเป็นพระเกียรติยศ แก่ "วีรสตรี" พระองค์นี้
กองบัญชาการทหารสูงสุด จึงรับสนองพระราชดำริ 
ด้วยการสร้าง "พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย"
ที่ทุ่งมะขามหย่อง 
และ บูรณะปิดทอง "พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย"
เนื่องในวโรกาส เฉลิม ๖๐ พระชนมพรรษา ใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พอดี.




วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

รายการที่คนลืม รักลูกให้ถูกทาง

 เมื่อครั้งเป็นดาราจอแก้ว บ่อย ๆ 

วันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔

ถ่ายรายการ "รักลูกให้ถูกทาง" 
โดย รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร เป็นผู้ดำเนินรายการ



วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน วัดส้ม ริมคลองท่อ ฝั่งตะวันออก กำลังขุดพบ ของซึ่งเป็นโบราณวัตถุ

 วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 

และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร 

เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน วัดส้ม ริมคลองท่อ ฝั่งตะวันออก

ที่กำลังขุดแต่งและบูรณะ พบ
พระพุทธรูป พระพิมพ์ เทวรูป และโบราณวัตถุ อื่น ๆ  
ในกรุเจดีย์ วัดส้ม จำนวนหนึ่ง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีรับสั่งว่า
"การที่จะทำให้โบราณสถานคงอยู่ได้นั้น 
ต้องทำความเข้าใจให้กับประชาชน
ต้องให้เขาเห็นความสำคัญและคุณค่าของโบราณสถาน นั้น ๆ ก่อน 
จนเขามีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของแล้ว  
ประชาชนก็จะสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้
โดยไม่ต้องแยกออกจากกัน"



อาทิตย์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔



ปรางค์ประธานวัดส้ม พ.ศ.๒๕๓๔



พระพิมพ์ดินเผา ปางเทศนา ศิลปแบบทวาราวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบในกรุเจดีย์ วัดส้ม อยุธยา ๒๕๓๔



เจดีย์ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ วัดส้ม ที่พบโบราณวัตถุ
พ.ศ.๒๕๓๔



พระพิมพ์"ไตรรัตนมหายาน"ดินเผา ศิลปแบบขอมในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบในกรุเจดีย์ วัดส้ม อยุธยา ๒๕๓๔



ชิ้นส่วนเทวรูปด้านหน้า สำริด ศิลปแบบขอมในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ พบในกรุเจดีย์ วัดส้ม อยุธยา ๒๕๓๔



ชิ้นส่วนเทวรูปด้านหลัง สำริด ศิลปแบบขอมในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ พบในกรุเจดีย์ วัดส้ม



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม

 "ชีวิตสั้น เวลาเร็ว"

หลายวันมานี้ พยายามดึงเวลาในอดีต 
ภาค ๓ "พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม"
เป็นเอกสารพิมพ์กระดาษ ที่ยังไม่ได้ตรวจแก้ไข 
จำนวนทั้งสิ้น หนึ่งร้อยกว่าหน้า
เกิดอะไรขึ้น ในอนาคตข้างหน้า
ลูกหลานจะใช้หรือไม่ก็สุดแล้วแต่....
"กรรมย่อมเป็นผู้นำทาง"













วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สำมะโนครัว มีที่มาอย่างไร

 บันทึกท้ายเล่ม 

สมุดบันทึกประจำวัน ปี พ.ศ.๒๕๔๑

"ทะเบียนบ้าน" มีที่มาอย่างไร ?

อาทิตย์ แก้วผลึก (เจี๊ยบ) ให้ความเห็นไว้ ...
เหตุเกิดจาก การอุทิศ หรือ บริจาคผู้คน ยกให้ไปเป็น "ข้าวัด" 
เรียกว่า "สมณครัว"  
และต่อมา เพี้ยนคำมาเป็น "สำมะโนครัว"
อันหมายถึง "จำนวนราษฎรในแต่ละครัวเรือน".



บันทึกท้ายเล่ม พระมหาเจดีย์ ประจำรัชกาล

 บันทึกท้ายเล่ม 

สมุดบันทึกประจำวัน ปี พ.ศ.๒๕๔๑

๑. พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ   สีเขียว สูง ๘๒ ศอก (๔๑ เมตร ) ประจำรัชกาล ที่ ๑
๒. พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน  สีขาว สูง ๘๒ ศอก ( ๔๑ เมตร ) ประจำรัชกาลที่ ๒
๓. พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สีเหลือง สูง ๘๒ ศอก ( ๔๑ เมตร ) ประจำรัชกาลที่ ๓
๔. พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย สีขาบ หรือ น้ำเงินเข้ม ย่อมุมไม้สิบสอง สูง ๘๒ ศอก ( ๔๑ เมตร ) ประจำรัชกาลที่ ๔



ส่งท้ายปีเก่า - ต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.๒๕๔๑

 ส่งท้ายปีเก่า - ต้อนรับปีใหม่

ที่เป็นมหามงคลอย่างหาที่สุดมิได้

วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑

เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ,และพระบรมวงศานุวงศ์ 
ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต
20.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ,
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ฯลฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ 
เสด็จพระราชดำเนินมาถึง 
ข้าพเจ้าได้นั่งโต๊ะคุณข้าหลวง (พี่พัสภรณ์) และคณะชุดเดิม 
อาหารวันนี้ จัดเป็นซุ้ม เพิ่มจากอาหารปกติ 
ซุ้มอาหารญี่ปุ่นหมดก่อนซุ้มอื่น ๆ 
เสด็จพระราชดำเนินกลับ เมื่อเวลา 05.30 น.ของปีใหม่ (พ.ศ.๒๕๔๒)



เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต เป็นครั้งแรก

 เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต เป็นครั้งแรก

เมื่อวิถีชีวิต ต้องพลิกผัน
ให้กลับมารับราชการในกรุงเทพฯ 
การไปเข้าเฝ้ารับพระราชทานเลี้ยง
ในวันศุกร์ และ วันอาทิตย์ 
ที่ พระราชวังบางปะอิน และ พระตำหนักสิริยาลัย 
จะไม่สะดวกเหมือนเดิม 
จึงมีพระมหากรุณาธิคุณ 
อนุญาตให้เข้าไปเฝ้า 
ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต กทม.
ได้เหมือนเดิม
วันศุกร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑
เนื่องจาก ยังไม่เคยไปเข้าเฝ้าที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ มาก่อน
จึงต้อง ให้ คุณวรกานต์ กนิษฐสุต พช.ช้างต้น
ไปประสานในเบื้องต้น  
ครั้นถึงเวลาเสด็จ (21.00 น.) 
จึงเข้าไปรอรับเสด็จได้โดยไม่ติดขัด
ผู้ตามเสด็จยังเป็นกลุ่มบุคคล  ชุดเดิม 
จึงไม่มีความรู้สึกขัดข้อง 
เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ และโต๊ะที่นั่ง เท่านั้น 
ข้าพเจ้าได้นั่งโต๊ะเดียว กับ นายแพทย์ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา  
คืนนี้ เสด็จกลับ พระตำหนักสวนจิตรลดา เมื่อเวลา 05 น. เศษ 
ส่งเสด็จแล้ว เราขับรถกลับถึงบ้านบางยี่ขัน เกือบ ๖ โมงเช้า


พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต



นายแพทย์ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา



วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข้าราชการร่อนเร่

 "ชีวิตทำงานของคนทำราชการ"

สอบบรรจุเข้ารับราชการ
๒ ตุลาคม ๒๕๑๖
ทำงานอยู่ พิพิธภัณฑ์ พระนคร กรุงเทพฯ ประมาณ เกือบ ๒ ปี
แล้วตระเวนออกไปอยู่ ๓ หน่วย ๓ อุทยานฯ กับ ๑ พิพิธภัณฑ์ 
เกือบ ๒๕ ปี 
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑ 
จึงได้กลับเข้ากรุงเทพฯ
แต่ก็ยังร่อนเร่ไปตามภารกิจ จนทั่วราชอาณาจักร





เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ณ พระตำหนักสิริยาลัย พ.ศ.๒๕๔๑

 วันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑
เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 
ณ พระตำหนักสิริยาลัย

รอเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ 

ณ พระตำหนักสิริยาลัย 

ตามเสด็จไปห้องเสวยนั่งโต๊ะและที่เดิม 

วันนี้มีคุยกันถึง เรื่องโบราณวัตถุที่งมพบในแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่ วัดไก่เตี้ย ใกล้เกาะเรียน พระนครศรีอยุธยา

นอกจากเรื่อง เรือ ที่งมพบแล้ว 

มีตอนหนึ่ง ที่ข้าพเจ้า ถาม คุณข้าหลวง 

เพื่อให้หายความข้องใจจากผู้คนทั้งปวง ว่า 

การที่ข้าพเจ้ามาเข้าเฝ้า 

ทั้งที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ และ พระตำหนักสิริยาลัย อยุธยา 

เป็นประจำเช่นนี้ 

มีผู้แคลงใจ ว่าจะเป็นสิ่งเหมาะสมหรือไม่ ? 

คุณข้าหลวงท่านนั้น ตอบว่า 

การที่มาเฝ้ารับเสด็จทุกครั้ง

เป็นเพราะเราได้รับพระมหากรุณาฯเป็นพิเศษ 

ให้มาเฝ้าได้ตลอด 

เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นการส่วนพระองค์  

ไม่ได้เป็นไปตามหน้าที่ทางราชการ 

ดังนั้น ก็ให้มาเฝ้าตามปกติเหมือนเดิม ไม่ต้องคิดอะไรมาก

เสด็จกลับ 05 น. เศษ











วัดไก่เตี้ยพฤฒาราม บ้านรุน อยุธยา พ.ศ.๒๕๔๑