Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เส้นทางเดินเรือ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เส้นทางเดินเรือ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

วัดโลกนันทะเจดีย์ ริมแม่น้ำอิรวดี

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันเสาร์ที่ ๑๘กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : วัดโลกนันทะเจดีย์ ริมแม่น้ำอิรวดี

"เท่ห์" และหลายคน อยากเห็นแม่น้ำอิรวดี 
ปู นับทอง กับ ศรีคำ จึงจัดให้ตามเสนอ 
โดยเดินทางล่องมาทางใต้ ประมาณ ๑ กม.เศษ 
ก็ถึง "วัดโลกนันทะเจดีย์"
วัดโลกนันทะเจดีย์ 
เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขต "หมู่บ้านทิริปิตสยา" (ชื่อเดิมในจารึก) 
ติดแม่น้ำอิรวดี ห่างจากเมืองพุกามเก่า มาทางทิศใต้ ประมาณ ๔-๕ กม.
ตรงบริเวณที่เคยเป็นท่าเรือตั้งแต่สมัยอาณาจักรพุกามยังเรืองอำนาจ 
ปัจจุบันก็ยังเป็นย่านการค้าเหมือนในอดีต
ตามตำนานเล่าว่า วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าอนิรุทธ์ 
เมื่อครั้งที่พระองค์ได้พระเขี้ยวแก้ว
มาจากพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 
เมื่อราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ 
ตำนานเล่าต่อว่า เมื่อตอนที่เรือนำพระเขี้ยวแก้วมาถึงท่าเรือ 
ตรงบริเวณวิหารโลกะนันทะปัจจุบัน  
พระเจ้าอนิรุทธ์ทรงลุยน้ำที่ลึกถึงคอ
ไปทรงรับพระเขี้ยวแก้ว 
โดยใช้พระเศียรของพระองค์
ทูนตะกร้าที่ทำจากเพชรพลอยบรรจุพระเขี้ยวแก้ว
นำเข้ามาที่ฝั่ง
ในระหว่างที่ทูนพระเขี้ยวแก้วไว้ที่พระเศียร 
พระองค์ได้อธิษฐาน ว่า 
ถ้าทรงมีบุญญาธิการ 
ขอให้พระเขี้ยวแก้วแตกเพิ่มเป็นหลายองค์ 
หลังคำอธิษฐานของพระองค์ 
พระเขี้ยวแก้วได้แสดงปาฎิหารกลายเป็นสี่องค์ 
องค์หนึ่งนำไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ชเวซิกอง 
อีกองค์ประดิษฐานไว้ที่เจดีย์โลกะนันทะแห่งนี้
ส่วนองค์อื่น ๆ ประดิษฐานไว้ที่ใดไม่ปรากฎ.









วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



ท่าเรือใกล้วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม




แม่น้ำอิรวดี ใกล้วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) พุกาม



ส่องวัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม






ท่าเรือ วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



ตลาดท่าเรือ วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



ใช้เงินเป็นฟ่อน ที่วัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



กุ้งทอดตลาดท่าเรือวัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



สมุนไพร ตลาดท่าเรือวัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



เครื่องครัวหิน สมุนไพร ตลาดท่าเรือวัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



หุ่น ของเล่น ตลาดท่าเรือวัดโลกนันทะเจดีย์ ( Lawka Nandar Pagoda ) ริมแม่น้ำอิรวดี พุกาม



วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เส้นทางการเดินเรือ และวิถีชีวิตผู้คนในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕

เส้นทางการเดินเรือ และวิถีชีวิตผู้คนในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕

หลวงจักรปาณี (มหาฤกษ์ ) กลับมากรุงเก่า ได้เขียน ไว้ในนิราศทวาราวดี และ นิราศปถวี ทำให้เห็นเส้นทางการเดินเรือ และวิถีชีวิตผู้คนในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕ ได้เป็นอย่างดี
ถึงตะเกี่ยก่อนเก่าฟังเขาว่า ว่าศาสนาพวกตะเกี่ยเดียรถีย์
เขาทำบุญของเขาเข้ากระฎี แม้ถูกที่พวกพ้องพี่น้องกัน
หลังจากแจวเรือเข้าคลองตะเคียน เหนือ ตะเกี่ย เข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนแขกตานี หรือ แขกมุสลิมที่อพยพขึ้นมาจากทางใต้ มาผสมอยู่กับแขกเก่า หรือแขกจาม ซึ่งตั้งชุมชนอยู่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ.๑๘๙๓ เป็นต้นมา ) ดังปรากฏข้อความใน พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐฯ ตอนหนึ่ง ว่า “ศักราช ๗๗๑ (พ.ศ. ๑๙๕๒) สมเด็จพระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าเสนาบดี และท่านให้กุมเจ้าเสนาบดี ๆ หนีรอด (และข้ามไป) อยู่ฟากปท่าคูจามนั้น” (ปท่า มาจาก คำว่า ประทาย,บันทาย แปล ว่า ค่าย ที่อยู่, คู หมายถึง ขอบเขต, จาม คือ ชาวมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม (น่าสังเกต ว่า ชุมชนปากคลองตะเคียนริมแม่น้ำเจ้าพระยา กลุ่มหนึ่งเป็นคนเชื้อสายเวียดนาม เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ )
ชุมชนแขกตานี ขยายพื้นที่ออกมาจากค่ายคูของพวกแขกเก่า (คลองปท่าคูจาม) น่าจะไม่เกินรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช ( พ.ศ.๒๑๑๒) ขึ้นไป โดยชุมชนแขกตานีที่เข้ามาใหม่ได้มาขุดคลองลัดแม่น้ำเพิ่มใหม่ ขึ้นอีกเส้นหนึ่ง คือ (คลองตะเคียน) ไปเชื่อมชนกับลำคลอง หรือเส้นทางน้ำอีกสองเส้น คือ คลองบางตาชาและคลองปากกราน ผ่านวัดท่าใหม่ (ทำใหม่) วัดกลาง ออกแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้างวัดนักบุญยอเซฟ
จะสังเกตได้จากนิราศที่แต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะไม่ได้ใช้เส้นคลองปท่าคูจามในการสัญจร อาจเป็นเพราะหมดความสำคัญและตื่นเขินมากขึ้น จึงไปใช้การคมนาคมลัดแม่น้ำเส้นคลองตะเคียนหรือคลองขุนละครไชย ที่ขุดมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา ดังเอกสารอธิบายภูมิสถานอยุธยา ระบุว่า ตลาดบ้านจีน ปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือ แลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลาหนึ่งอยู่ท้ายตลาด ปัจจุบันตลาดบ้านจีน ไม่ใช่ย่านชาวจีน แต่กลายเป็นย่านแขกมุสลิม ไม่มีร่อยรอยโรงรับทำชำเราบุรุษให้เห็นแล้ว