Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อยุธยา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อยุธยา แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ตามรอยพระบาทยาตราสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพรจาก สุสานลินซินกอง อมรปุระ ประเทศเมียนมาร์กลับสู่ไทย

 บทความสั้น ภาพบรรยากาศ งานส่งมอบพระบรมรูปพระมหาเถระอุทุมพรเจ้า แด่ อบต คำหยาด โพธิ์ทอง อ่างทอง

คำถามทำไมต้องเป็นที่ คำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
เหตุเพราะ ครั้งหนึ่งขุนหลวงหาวัดท่านเสด็จอยู่ที่พระตำหนักคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง แห่งนี้



หุ่นดินต้นแบบปั้นรูปและรูปหล่อโลหะสำริด
"สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าอุทุมพร"







คณะทำงาน ตามรอยพระเจ้าอุทุมพร สู่ไทย



ทีมงานอาสาสมัคร
ไปตามรอยพระบาทยาตราสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพร
ที่สุสานลินซินกอง อมรปุระ ประเทศเมียนมาร์ รุ่นแรก 
ได้รับ ๑.พระบรมรูปสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพร
เนื้อหล่อสำริดผสมอัฐิพระสรีรังคารที่พบ 
จำนวน ๑ องค์ 
 ๒."ประคำ" หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล' 
เจ้าอาวาสวัดอนาลโย จ.พะเยา จำนวน ๑ เส้น
๓.หนังสือ "ส่งเสด็จพระสู่สรวงสวรรค์"
ขอขอบคุณ อาจารย์ วิจิตร ชินาลัย 
และ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน์
เป็นอย่างยิ่งครับ




วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ครั้นถึงเพลาหนีออกจากรุงศรีอยุธยา และ นิราศพระบาท สุนทรภู่

 นิราศพระบาท สุนทรภู่

สวัสดี....
๓ ปีมีสุข...เหมือนไม่ทุกข์กังวล
คนที่พอจะรู้ตัว...ว่า "อยู่ต่อไป คงไม่รอด"
ค่อยๆอพยพครอบครัว พากันออกจากเมือง
กลางวันคงไม่สะดวก...
นอกจาก...เพลากลางคืนเดือนมืด
คนที่อยู่ข้างใน,ทำอะไรกัน
ขนาดข้าศึกข้ามแม่น้ำเข้ามาขุดอุโมง
รอดกำแพงพระนครได้.
"กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย"
สุนทรภู่ รำพึงไว้ในนิราศพระบาท
บทเรียนประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ควรจดจำและแก้ไข.



วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พระนาม สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ในกฎหมายตราสามดวง

 พระนาม  "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" และ "สมเด็จพระเอกาทศรถ"

ในกฎหมายตราสามดวง

เสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี มะโรงศก พ.ศ.๒๑๓๕ แล้ว
ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก ( พ.ศ.๒๑๓๖ ) 
(สมเด็จพระนเรศ )เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท
พระราชทานบำเหน็จรางวัลทหารหาญผู้ร่วมรบในครั้งนี้ 
(กฎหมายตราสามดวง)  "พระบาทสมเด็จเอกาทธรฐ 
อิศวรบรมนารถบรมพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว"
เสด็จออกพระที่นั่งมงกุฎพิมานสถานภิมุไพชนมหาปราสาท
มีพระราชโองการมาณพระบันทูลสุรสีหนาท ดำรัสสั่งแก่พระยาศรีธรรมา  ว่า
พระหลวงเมืองขุนหมื่นข้าทูลละอองทุลีพระบาท ฝ่ายทหาร พลเรือน เกณฑ์เข้ากระบวนทัพ ได้รบพุ่งด้วย
"สมเด็จบรมบาทบงกชลักษณ อัคบุริโสดมบรมหน่อนรา เจ้าฟ้านเรศเชษฐาธิบดี"
มีชัยชำนะแก่ 
"มหาอุปราชา" หน่อพระเจ้าชัยทศทิศเมืองหงสาวดี นั้น
ฝ่ายทหารพลเรือน ล้มตายในการณรงค์สงครามเป็นอันมาก
แลรอดชีวิตเข้ามาได้ก็เป็นอันมาก 
ทรงพระกรุณาพระราชทานปูนบำเหน็จ....





ทำยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวร จุดไหนกันแน่ พิจารณา ตามหลักภูมิศาสตร์ ด้วยแผนที่สมัยใหม่ ประกอบบันทึกตามประชุมพงศาวดาร (ชั้นต้น หลายเล่ม)

 ศึกสงคราม "ยุทธหัตถี " ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕

เชิญพิจารณา 

"เส้นทาง และ จุดปะทะกันตามเหตุผล"

กองทัพสมเด็จพระนเรศวร 
ออกจากที่ตั้งทัพชัยป่าโมก ตั้งแต่เช้าหลังเสวยแล้ว
เดินทัพทางพยุหบาตรา ถึง ค่ายตำบลหนองสาหร่าย 
เพลา บ่าย ๓ โมง
ทัพพระมหาอุปราชา สืบได้ข่าวกองทัพกรุงศรีอยุธยา
ยกมาถึง ค่ายตำบลหนองสาหร่ายแล้ว
เห็นว่า "กำลังกองทัพอยุธยา น้อยกว่า ๒ - ๓ เท่า 
ของกองทพหงสาวดี" 
จึงคิดจะยกกำลังทั้งหมด เข้าทุ่มตี 
ครั้งเดียวคงแตกฉานยับเยิน
แล้วเห็นจะยกหักเอาพระนครศรีอยุธยาได้ไม่ยาก
๑๑ ทุ่ม ยกออกจากค่ายตะพังตรุ
(ประชุมพงศาวดารภาค ๙) สมเด็จพระนเรศวร 
ดำรัสสั่งให้กองทัพพระยาศรีไสยณรงค์ 
กับพระยาราชฤทธานนท์ 
ออกไปสอดแนม  ทรงทราบขบวนของข้าศึกที่ยกมาแล้ว     
จึงทรงจัดขบวนทัพที่จะยกเข้ารบข้าศึก  
พระยาทั้งสอง ยกทัพ ออกจากค่ายหนองสาหร่าย
ตั้งแต่ เพลา ตี ๑๑ ทุ่ม 
ขึ้นไปถึง "ท้ายโคกเผาข้าว" เพลาเช้าประมาณ โมงเศษ
(ประมาณ ๗ ชม.) ปะทะกับทัพหน้าพระมหาอุปราชา
กองทัพพระยาทั้งสอง มีกำลัง 
ไม่พอต้านทานข้าศึก  ต้องรบพลางถอยพลาง 
ครั้นรุ่งแสงสุริโยภาส ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม แล้ว
ได้ยินเสียงทัพพระยาทั้งสองที่เป็นทัพหน้า
แตกพ่ายอลหม่านกลับมา
(ประชุมพงศาวดารภาค ๙)....ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า    
จะส่งกำลังไปหนุนกองทัพหน้า 
ซึ่งข้าศึกกำลังตีถอยลงมา 
จะรับไม่อยู่   
จึงสั่งขึ้นไปให้กองหน้า 
ถอยล่อข้าศึกที่ติดตาม ให้หลงว่า
กองทัพอยุธยาแตกเสียขบวน  
ส่วนกองทัพหลวงตั้งซุ่มไว้จนข้าศึกไล่ถลำเข้ามา
จึงยกตีโอบข้าศึก 
กองทัพใหญ่ได้รบกันตั้งแต่เวลา ๕ โมงเช้า จนถึงตลุมบอน


หนองสาหร่าย สุพรรณบุรี



หนองสาหร่าย กาญจนบุรี



สงคราม ยุทธหัตถี ทัพพระหาอุปราชา ตั้งทัพที่ใด สมเด็จพระนเรศวร ตั้งรับที่ใด

 ศึกสงคราม "ยุทธหัตถี " ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕

ทัพพระหาอุปราชา ตั้ง ณ,ที่ใด,

ทัพสมเด็จพระนเรศวร ตั้งทัพชัย ณ ที่ใด

กองทัพยกจากเมืองหงษาวดี 
เมื่อ ณ วันพุธ ๑ ค่ำ  ปีมะโรง  จุลศักราช  ๙๕๔ พ.ศ. ๒๑๓๕ 
เดินทัพเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ 
“ครั้นเถิงเดือนยี่  มหาอุปราชา ยกมาเถิ่งแดนเมืองสุพรรณบุรี 
แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ ”  (ฉบับหลวงฯ)
มาตั้งประชุมพลที่บ้านกะพังกรุ แขวงเมืองสุพรรณบุรี
ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า   
พระมหาอุปราชายกกองทัพพม่าเข้ามาอีก  
เป็นกองทัพใหญ่มีกำลังมากกว่าคราวก่อน 
จึงโปรดให้ประชุมปรึกษาการศึก    
ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า  
"วิธีต่อสู้ที่พระนครปล่อยให้ข้าศึกเข้ามาถึงชานเมือง  
เป็นการลำบากเดือดร้อนแก่ราษฎรนัก 
ถึงจะรบพุ่งมีชัยชนะ 
บ้านเมืองที่ข้าศึกเข้ามาเหยียบย่ำแล้ว
ก็ต้องยับเยิน 
และพิจารณาแล้ว เห็นว่า
ฝ่ายอยุธยา ได้เคยรบพุ่งมีชัยชนะหลายคราว     
ชำนาญการศึกแลรู้ความสามารถของพวกหงสาวดีอยู่แล้ว  
เห็นพอจะต่อสู้เอาชัยชนะในหัวเมืองได้    
สมเด็จพระนเรศวรจึงดำรัสสั่งให้เตรียมกองทัพหลวง
จะเสด็จออกไปต่อสู้ข้าศึก
ที่เมืองสุพรรณบุรี   
ณวันอาทิตย์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๒ ( มกราคม ) 
ปีมะโรง จุลศักราช ๙๕๔ พ.ศ.๒๑๓๕ 
เสด็จยกกองทัพหลวงออกจากกรุงศรีอยุธยา
ไปตั้งประชุมพลที่ตำบลป่าโมกข์ 
พอจัดทัพบกเสร็จแล้ว ก็ยกกองทัพหลวงขึ้นไป
ตั้งค่ายที่ "ตำบลหนองสาหร่าย"










วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หนองสาหร่าย มี 3 ที่ เป็นสิ่งที่หลายคนยังไม่รู้ ที่ตั้งทัพ สมเด็จพระนเรศวร สงครามยุทธหัตถี ที่ไหนกันแน่

 ศึกสงครามยุทธหัตถี ครั้ง ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕

ที่ตั้งทัพ สมเด็จพระนเรศวร 

มี "หนองสาหร่าย" ๓ แห่ง 
ให้พิจารณากัน ตาม "เหตุ" และ "ผล"


เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวร จาก ทัพชัยป่าโมก - ทุ่งหนองสาหร่าย แขวงเมืองสุพรรณบุรี ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ (๑)



เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวร จาก ทัพชัยป่าโมก - หนองสาหร่าย พนมทวน เมืองกาญจนบุรี ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ (๒)



หนองสาหร่าย เขาพระยาแมน เมืองอู่ทอง แขวงเมืองสุพรรณบุรี ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕



เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวร จาก ทัพชัยป่าโมก - หนองสาหร่าย เมืองอู่ทอง แขวงเมืองสุพรรณบุรี ปีมะโรง พ.ศ.๒๑๓๕ (๓)





วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ทหารไทยกลัวสมเด็จพระนเรศวร มากกว่ากลัวข้าศึก เอกสารยืนยัน จากหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะ สงครามยุทธหัตถี

 "ทหารไทยกลัวสมเด็จพระนเรศวร มากกว่ากลัวข้าศึก"

สงครามครั้ง มะโรงศก พ.ศ.๒๑๓๕ เป็นสงครามยุทธหัตถี  
ที่ หนังสือพงศาวดารพม่า กับ พระราชพงศาวดารฝ่ายไทย 
ยุติต้องกันว่า "เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง"
เหตุเกิด หลังจาก สงครามครั้งผลัดแผ่นดิน พ.ศ. ๒๑๓๓
เมื่อ พระมหาอุปราชา แตกทัพกลับไป
พระเจ้าหงสาวดี น้อยพระทัย 
ที่ไม่สามารถจะปราบปรามเอากรุงศรีอยุธยา
มาไว้ในอำนาจได้ 
จนวันหนึ่ง รับสั่งให้หาพระมหาอุปราชา
กับบรรดาพระราชบุตร มาประชุมพร้อมด้วยเสนาข้าราชการ 
พระเจ้าหงสาวดี ตรัสตัดพ้อว่า 
"พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามีโอรสทำการสงคราม   พระราชบิดาไม่ต้องพักสั่ง 
แต่ฝ่ายข้างหงสาวดี 
ทั้งเจ้าทั้งขุนนางไม่มีใครเจ็บร้อนช่วยทำราชการสงคราม 
ให้สมกับที่ได้ชุบเลี้ยงให้มียศบรรดาศักดิ์  
พากันอ่อนแอเสียหมด    
ด้วยเหตุนี้จึงทำสงครามไม่ชนะกรุงศรีอยุธยา  
ถ้าตั้งใจทำราชการให้พรักพร้อมกันแล้ว 
ทำไมกับพระนเรศวรไม่เท่าใดก็จะจับได้" 
มีขุนนางคน ๑ ชื่อ "พระยาลอ" กราบทูลว่า 
"การรบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยา 
ที่จริงไพร่พลกรุงศรีอยุธยา น้อยกว่าหงสาวดีหลายเท่า  
แต่พวกทหารกลัวเกรงสมเด็จพระนเรศวร
เสียยิ่งกว่ากลัวตาย  
เวลาเข้ารบพุ่งไพร่พลของสมเด็จพระนเรศวร
ไม่รู้จักเสียดายชีวิต  
ข้าศึก(ทหารไทย) จึงกล้าแข็งนัก 
ถ้าจะเอาชัยชนะสมเด็จพระนเรศวรให้ได้        
เห็นว่าควรจะทรงเลือกสรรเจ้านายในพระราชวงศ์ 
ที่อาจหาญการสงครามหลาย ๆ องค์ด้วยกัน   
คุมพลไปช่วยกันทำศึกกับสมเด็จพระนเรศวร 
จึงจะเอาชัยชนะได้"









หลังศึกพระเจ้าหงสา ศึกพระยาสิม ทัพหน้า ไม่สามารถล่วงล้ำพระนคร สันนิสฐาน สมเด็จพระนเรศวร ตั้งศึกรับที่ใด

 ศึกเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ปีขาล พ.ศ.๒๑๓๓

หลังจากพระเจ้าหงสาวดี เลิกทัพกลับไปหงสาวดี 

พระนครศรีอยุธยา มีเวลาว่างศึกหงสา ได้ ๓ ปี 

พระราชพงศาวดารทุกฉบับ บันทึกไว้ว่า  
“ปีศักราชได้ ๙๕๒ ขาลศก (พ.ศ.๒๑๓๓ )
วันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ 
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พระพฤฒาราช นฤพาน  
แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ มหาอุปราชายกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี 
ครั้งนั้นได้ตัวพระยาพสิม ตำบลจระเข้สามพัน
แขวงเมืองสุพรรณบุรี
การที่พระมหาอุปราชา ยกมาในครั้งนั้น 
ไม่ได้ล่วงเลยเข้ามาถึงพระนครศรีอยุธยา
เพราะเสีย พระยาพสิม ( ทัพหน้า) ก่อน
 เหตุการณ์ครั้งระหว่างผลัดแผ่นดิน 
จึงเกิดขึ้นที่เขตเมืองสุพรรณบุรี
หากคำนวณที่ตั้งทัพหลวงสมเด็จพระนเรศวร 
กับสถานที่ได้ตัวพระยาพสิม ที่ตำบลจรเข้สามพันแล้ว
สงครามในครั้งนี้ (ปฏิพัฒน์) คิดว่าควรอยู่ในพื้นที่
ในวงประมาณ (เมืองอู่ทอง) นี้




สมเด็จพระนเรศวร ทรงสังหาร ลักไวทำมู และ ทหารทศ ด้วยฝีพระหัตถ ที่ไหน มีเหตุการณ์อะไรบ้าง

 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พิฆาตลักไวทำมู และทหารทศ ที่ไหน ?

หลังจากเหตุการณ์เข้าตีค่ายพระเจ้าหงสาวดีในครั้งนั้น แล้ว 
พงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ บันทึกต่ออีกว่า
 “วันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔” 
เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งเป็นทัพซุ่ม ณ "ทุ่งหล่มพลี" 
และออกตีทัพข้าเศิก  
ครั้งนั้นได้รบพุ่งตะลุมบอนกันกับม้าพระที่นั่ง 
และทรงพระแสงทวน แทงเหล่าทหารตาย 
ครั้นข้าเศิกแตกพ่ายเข้าค่าย
และไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนถึงหน้าค่าย”
ในขณะที่ พระราชพงศาวดาร อื่น ๆ 
กล่าวรายละเอียดเสริม ว่า 
“พระเจ้าหงษาวดีทราบว่า
สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปปีนค่าย
ตรัสว่า  "สมเด็จพระนเรศวร ทำการสงครามกล้าหาญนัก 
จะจับเอาให้จงได้ 
จึงแต่งพลทหารมาล่อ 
และให้ "ลักไวทำมู"กับ "ทหารทศ" 
(ทำนองจะเปนนายทหารที่เข้มแข็งในกระบวนทัพม้า)
คุมพลไปซุ่มอยู่  
ถ้าสมเด็จพระนเรศวร ไล่หลวมเข้าไปให้ล้อมจับ   
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรไล่หลวมเข้าไปถึงค่าย 
ลักไวทำมูกับทหารทศ ออกล้อมรบ สมเด็จพระนเรศวร 
สมเด็จพระนเรศวร ฆ่า ลักไวทำมู และ ทหารทศ
ตายด้วยฝีพระหัตถทั้ง  ๒  คน 
แล้วจึงถอยกลับเข้าพระนคร 
แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ รบกับลักไวทำมู และทหารทศ 
เกิดขึ้นที่ทุ่งลุมพลี 
และเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ แรก  ๑๕ วัน 
พระเจ้าหงสาวดียกมาติดพระนครนานถึง ๖ เดือน จนถึงวสันตฤดู 
เสียพลทหารไปเป็นอันมาก 
เห็นจะเอาพระนครมิได้จึงเลิกทัพกลับไป






วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สมเด็จพระนเรศวร ใช้พระแสงดาบคาบค่ายที่ไหน แม้พระเจ้าหงสา จะปิดประตูตีแมว แต่พระองค์ทรงรับศึกนอกพระนคร

 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 

ทรงพระแสงดาบคาบค่าย ที่ไหน ?

ความสับสนในเหตุการณ์ 
และการคัดลอกเรื่องราวในประวัติศาสตร์
ที่จดบันทึกไว้ ทำให้เกิดเป็นปัญหา 
ทำให้การตีความประวัติศาสตร์ไม่ลงตัว
เช่น เรื่อง
"พระแสงดาบคาบค่าย"
ภายหลังจาก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อ ปีวอก พ.ศ.๒๑๒๗ แล้ว
ในช่วงระยะเวลา พ.ศ.๒๑๒๗ - ปีระกา พ.ศ.๒๑๒๘
พระเจ้าหงสาวดี ทรงส่ง
ทัพพระยาพสิม และ พระเจ้าเชียงใหม่
มาตามตีพระนครศรีอยุธยา  ด้วยคิดว่า
"อยุธยายังมีกำลังไม่พร้อม"
แต่ครั้นเมื่อการเข้าตีอยุธยาในครั้ง พระเจ้าเชียงใหม่ ไม่สำเร็จ
และกลับแตกพ่ายยับเยินไปในที่สุด
เป็นเหตุให้ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี 
ทรงเกรงว่า 
"หากไม่ปราบอยุธยาให้สงบ หงสาวดีคงไม่สงบ 
เพราะเมืองขึ้นต่าง ๆ จะพากันกระด้างกระเดื่อง"
พระเจ้าหงสาวดี จึงต้องทรงนำทัพมาเอง 
ใน ปีจอ พ.ศ.๒๑๒๙
การยกทัพมาในครั้งนี้เป็นทัพใหญ่ เข้ามาทาง "ด่านแม่สอด"
ผสมกับทัพหัวเมืองเหนือที่ขึ้นกับเมืองเชียงใหม่
ทั้งทัพบกและทัพเรือ
ยุทธวิธีการรบของสมเด็จพระนเรศ 
ทรงรับศึก นอกเมือง ใช้ทั้งกองโจร และกองจู่โจม
แบบไม่ทันให้ กองกำลังของข้าศึกป้องกันตัวได้ทัน
การใช้ปืนใหญ่ "พระกาลมฤตยูราช"
ใส่เรือสำเภาและปืนเล็กใหญ่อีกหลายกระบอก
ขึ้นไประดมยิง "ค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี"
ที่ขนอนปากคู (ปากคลองมหาพราหมณ์) 
ทำให้ทัพพระเจ้าหงสาวดี 
ต้องถอนกำลังเลิกทัพ ไปตั้งมั่นในที่ใหม่
"ตำบลป่าโมกใหญ่"
เรือสำเภาบรรทุกปืน "พระกาลมฤตยูราช" ขึ้นไปไม่ถึง
(หลังจากนั้น อีก ๔ เดือน) 
(ฉบับหลวงประเสริฐ) จดไว้ว่า
"เถิงวันจันทร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ 
(จึง) เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก ๆ นั้น แตกพ่าย 
และไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระเจ้าหงสาวดี นั้น"
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเข้าไปได้ถึงค่ายพระเจ้าหงษาวดี 
เสด็จลงจากม้าพระที่นั่ง 
คาบพระแสงดาบนำทหารปีน
จะเข้าค่ายพระเจ้าหงษาวดี 
ต่อเห็นว่าจะเข้าไม่ได้ จึงถอยทัพกลับมา (ประชุมพงศาวดาร ภาค ๖)
สรุป ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระแสงดาบคู่ นำทหารปีนค่าย
หลวงพระเจ้าหงสาวดี ที่ "ค่ายตำบลป่าโมกใหญ่" 
ไม่ใช่ค่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ที่ "ตำบลบางปะหัน"
เพราะการศึกครั้งนั้น (พ.ศ.๒๑๒๙) ไม่มีทัพใครตั้งที่ค่ายบางปะหันเลย





กลศึก พระเจ้าหงสา ปิดประตูตีแมว

 ศึกพระเจ้าหงสาวดี กลศึก "ปิดประตูตีแมว"

ปีจอ พ.ศ.๒๑๒๙
ในหนังสือพงศาวดารพม่า บันทึกไว้ว่า 
ตั้งแต่กองทัพที่พระเจ้าหงษาวดี แต่งทัพให้เข้ามารบพุ่ง
เสียที แตกพ่ายไปทุกครั้ง  
พระเจ้าหงษาวดีทรงวิตก ปรึกษากับเสนาบดีเห็นพร้อมกัน 
ถ้าปราบ พระนครศรีอยุธยา ลงไม่ได้ 
เมืองประเทศราชทั้งปวง คงจะพากันเอาอย่างอยุธยา
พากันกระด้างกระเดื่องขึ้น   
ดังนั้น ใน ปีจอ พ.ศ.๒๑๒๙  
พระเจ้าหงษาวดี จึงเสด็จเป็นจอมพลยกมาเอง
มีจำนวนพล ที่ยกมาครั้งนั้น  ๒๕๐,๐๐๐  คน     
เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่สอด  
ตั้งประชุมพลที่เมืองกำแพงเพชร   
แล้วแยกทัพเดินเป็น   ๒   ทาง 
ให้พระมหาอุปราชากับพระเจ้าตองอู 
ยกลงมาทางฝั่งตะวันออก (แม่น้ำเจ้าพระยา)  
พระเจ้าหงษาวดียกลงมาทางฝั่งตะวันตก  (แม่น้ำเจ้าพระยา)         
พระเจ้าเชียงใหม่คุมกองลำเลียงแลเสบียงอาหาร
ลงมาทางเรือ (แม่น้ำเจ้าพระยา)
เมื่อกองทัพลงมาถึงกรุงศรีอยุทธยา 
พระเจ้าหงษาวดีตั้งทัพหลวง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ที่ขนอนปากคู 
ทัพมังมอดราชบุตร์ กับพระยาพระราม
ตั้งที่ทุ่งมะขามหย่อง 
ทัพพระยานครตั้งที่ปากน้ำพุทธเลา  (ทางหลบขึ้นเหนือได้)
ทัพนันทสูตั้งที่ขนอนบางลาง  (ทางหลบขึ้นเหนือได้)
ทัพพระเจ้าตองอูตั้งทุ่งชายเคือง 
(ทางหลบหรือสนับสนุนจากตะวันออกได้)
ทัพพระมหาอุปราชาตั้งที่ขนอนบางตะนาว 
(ทางหลบหรือสนับสนุนจากใต้ได้)
การวางกองทัพของพระเจ้าหงสาวดี ในครั้งนี้
ปิดทุกช่องทางแม่น้ำ ทั้งสายเล็กและสายใหญ่ 
ที่จะหลบหนี หรือเข้ามาช่วยพระนครได้







วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ สมเด็จพระนเรศวร สร้าง วังจันทรเกษม ขยาย กำแพง กรุงศรีอยุธยา

 สร้างวังจันทรเกษม (วังใหม่),ขยาย คูน้ำ กำแพงพระนคร

ศักราช ๙๔๒ โรงศก ( พ.ศ.๒๑๒๓ ) 
สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า 
ทรงเห็นจุดอ่อนของการรักษาพระนคร 
โดยเฉพาะทางด้านลำคูขื่อหน้า ด้านทิศตะวันออก 
ซึ่งเป็นจุดที่แคบ เพราะเป็นคลองที่ขุดขึ้น 
และชะลอน้ำจากแม่น้ำ เจ้าพระยาเก่า,แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก 
เข้ามาเลี้ยงคูเมือง 
ไม่เหมือนเป็นแม่น้ำที่กว้างมากกว่าโดยธรรมชาติ 
จึงโปรดเกล้าฯให้รื้อกำแพงพระนคร ออกไปเถิงริมแม่น้ำ 
(ฉบับหลวงประเสริฐฯ)
มีรายละเอียดเพิ่มเติมในพระราชพงศาวดารฉบับอื่น ว่า 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แต่งพระนคร
ให้ขุดคูขื่อหน้า ฝ่ายบูรพา 
แต่ป้อมหมาชัยวังหน้าลงไปบรรจบบางกะจะ 
กว้าง ๑๐ วา (๒๐ เมตร) ลึก ๓ วา (๖ เมตร) 
แล้วให้ยกกำแพงออกไปริมน้ำขอบนอกพระนคร 
บรรจบป้อมมหาชัย ลงไปบรรจบป้อมเพชร





พระนเรศวร มูลเหตุแห่ง สงคราม จีนจันตุ

 พระยาละแวก นักฉวยโอกาส

ความพยายามที่จะเข้ามายึดพระนครศรีอยุธยา ของพระยาละแวก 
ยังไม่สิ้นสุดลง 
ในยามที่กำลังของพระนครศรีอยุธยา
ตกอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ  
พระเจ้ากรุงละแวก 
เข้ามาลักลอบปล้นเอาผู้คน ตามชายแดน หลายครั้ง 
จนล่วงเลยเข้ามาจนถึงชานพระนครศรีอยุธยา 
ใน ปีขาล พ.ศ.๒๑๒๑ 
พระยาละแวกแต่งให้
พระยาอุเทศราช และพระยาจีนจันตุ 
ยกทัพเรือ ให้เข้ามาเอาเมืองเพชรบุรี
พระยาศรีสุรินทราฤาชัย 
เจ้าเมืองเพชรบุรี และกรมการเมือง 
รบพุ่งป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็ง 
ข้าศึกเข้าปล้นเมืองได้ ๓ วันเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมาก 
เห็นว่า จะตีเอาเมืองเพชรบุรี ไม่ได้ 
จึงถอยทัพกลับไปเมืองละแวก
พระยาจีนจันตุ
เกรงพระยาละแวกจะลงโทษ 
ที่อาสาตีเมืองเพชรบุรีไม่สำเร็จ 
จึงกลับไปอพยพครัวในเมืองละแวกแสร้งทำเป็นหนี 
มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระมหาธรรมราชา 
พระมหาธรรมราชาทรงต้อนรับ 
และพระราชทานสิ่งของที่พระราชทานให้เป็นอันมาก 
(ดูลาดเลา)แล้วลักลอบแต่งสำเภาจะหนีกลับ
ไปเมืองละแวกดังเก่า
ในเพลานั้น สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า 
เสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก 
ประทับอยู่ที่วังใหม่ (พระราชวังจันทรเกษม)  ด้านลำคูขื่อหน้า 
ทราบเหตุ จึงเสด็จยกทัพเรือ
ตามเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ ไปในคืนนั้น 
ได้เข้าล้อมรบพุ่งกันเป็นสามารถ ที่เมืองบางกอก (ธนบุรี) 
จนถึงขั้นจะปีนขึ้นเรือสำเภาได้ 
พอดีเรือสำเภาพระยาจีนจันตุ ได้ลมดี 
โล้แล่นหนีออกไปพ้นปากน้ำเมิองพระประแดง 
หนีรอดออกทะเลไปได้ในที่สุด




วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

เส้นทางเดินทัพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปก่อกวนทัพพระมหาอุปราชา ที่ไหน

 พระนเรศวรมหาราช ไปก่อกวนทัพพระมหาอุปราชา ที่ไหน ?

ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๑๒๔ แผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา 
ทัพพม่าข้าศึกยกมาจากกำแพงเพชร
แยกกับทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดี
 ที่เมืองนครสวรรค์ 
ทัพพระเจ้าหงสาวดี เลียบฝั่งตะวันตก
ทัพพระเจ้าเชียงใหม่เป็นทัพลำเลียง ยกมาในแม่น้ำเจ้าพระยา
ทัพพระมหาอุปราชาและพระยาตองอู
เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออก
ผ่านเมืองลพบุรี มาตั้งค่ายที่ทุ่งชายเคือง บางปะหัน ?
คงต้องเข้าเส้นทางแม่น้ำลพบุรี
ที่สิงห์บุรี ผ่านเมืองลพบุรี ลงมากรุงศรีอยุธยา
แล้วทัพเรือของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
จะยกทัพไป รบกับทัพพระมหาอุปราชา
ทางไหน ?...
คำตอบ....มีทางเดียว คือ ทางแม่น้ำลพบุรี