Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรื่องเสียว ลี้ลับ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรื่องเสียว ลี้ลับ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อาถรรพ์ อิง ประวัติศาสตร์ วัดร้าง โบราณสถาน ในดวงใจ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์

อาถรรพ์ อิง ประวัติศาสตร์ วัดร้าง โบราณสถาน ในดวงใจ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ฉบับเต็ม

๑ หมู่บ้านโปรตุเกส
๒ เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย
๓ วัดห่อหมก อำเภอ บางไทร
๔ ข้อมูลใหม่ “ศรีสูรยชลาศยะ” สระใหญ่แห่ง วนำรุง
๕ วัดกะชาย

เข้าสถานที่ยามวิการ


วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ไม่ได้ลบหลู่ แค่วิจารณ์เฉย ๆ

วัตรปฏิบัติ บางวัน

ในการเรียนโบราณคดี รอบสอง

ตอน : ไม่ได้ลบหลู่ แค่วิจารณ์เฉย ๆ "

วันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕

เดินทางจากจังหวัดสุโขทัย ถึง เมืองศรีสัชนาลัย

ขึ้นไปนอนบนเขาพนมเพลิง
อากาศเย็นสบาย ปลอดภัยดี ไม่มีสิ่งใด รบกวน

เช้าหลังรับประทานอาหารที่ริมแก่งหลวงแล้ว
พี่ขุน (อ.คงเดช ประพัฒน์ทอง) พาเด็ก ๆ ขึ้นไปดูวัดบนเขาพนมเพลิง

ข้าพเจ้ากับปื๊ด (พรชัย สุดลาภา )
แยกทางจะไปดูศาลหลักเมือง ศรีสัชนาลัย
เพราะถึงแม้จะมาศรีสัชนาลัย หลายครั้ง
แต่ก็ยังหาโอกาสไปดูไม่ได้สักที

ครั้งนี้ได้โอกาสดี

เมื่อเข้าไปดูเห็นลักษณะโบราณสถาน แล้ว
พากันข้องใจ ต่างก็พากันวิจารณ์ อีกว่า

“ดูรูปร่างพิลึก แปลกพิสดารเหลือเกิน
คล้ายกับช่างผู้สร้าง
ไม่มีฝีมือ
เพราะดูเหมือนไม่ได้สัดส่วนที่ดีเลย”

วิจารณ์กันแล้ว ก็พากันเดินออกมานั่งตรงวิหารข้างหน้า

ทั้งข้าพเจ้าและปื๊ด รู้สึกตัว ว่า

"หูอื้อ มาก "

แต่ก็ไม่ได้คิดอะไร คิดว่า
คงเป็นความกดอากาศตามธรรมชาติ

ปื๊ด(พรชัย) จึงปรารภออกมาว่า

“ความเงียบ ก็สามารถทำให้หูอื้อได้เหมือนกัน
ที่บริเวณนี้ ก็เป็นที่บนพื้นดินที่ราบธรรมดาเท่านั้น
ยังหูอื้อขนาดนี้
ถ้าไปเป็นนักบินจะทนได้หรือ ?”

ข้าพเจ้ายืนดูอย่างเงียบ ๆ
แล้วก็พาเดินออกมาจากบริเวณหลักเมือง นั้น

คาดไม่ถึงจริง ๆ ว่า
พอพ้นเขตกำแพงศาลหลักเมือง เท่านั้น

อาการหูอื้อก็หายไปอย่างสิ้นเชิง

ข้าพเจ้าสอบถามปื๊ด ว่า รู้สึกเช่นไร

ปื๊ด ก็เป็นเหมือนกัน

จึงชักเอะใจ
ชวนกันกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง

เหตุการณ์ก็เป็นเหมือนเดิม คือ

“เกิดอาการหูอื้อ หนักกว่าเดิม”

ทั้งข้าพเจ้าและปื๊ด ถึงกับยกมือไหว้

ขอขมา มิได้ลบหลู่ดูถูกแต่อย่างใด
ตั้งใจปรารถนาจะมาดูจริง ๆ
ขนลุกหมดทั้งตัว

"ก็ดูไม่สวยจริง อ่ะ...วิจารณ์หน่อยก็ไม่ได้"

รีบเดินกลับและขึ้นเขาพนมเพลิง
ยังไม่ทันเล่าอะไร

คงเห็น "หน้าถอดสี" ของเราสองคน

พี่ขุน (อ.คงเดช) ก็เลยทักว่า.."โดนดี มาแล้วสิท่า"








วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์ แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

มู -ไม่มู

มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์ แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

ศิษย์นี้มีครู อยู่เสมอ
ทุกสิ่งเรื่อง พบเห็น และเจอะเจอ
บันทึกอ้าง อิงเสมอ ไม่ลืมเลือนฯ

สมุดบันทึก สำรวจวัดใน อยุธยา - อ่างทอง...ปี ๒๕๑๕

ด้วยลายมือ อาจารย์ คงเดช ประพัฒน์ทอง

และเหตุการณ์ (ตัวอักษรแดง) ที่เกิดขึ้น ที่ เมืองศรีสัชนาลัย
สุโขทัย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕

เมื่อเกิดแปลกประหลาดขึ้น มีพยานในที่เกิดเหตุ คือ นายพรชัย สุดลาภา (ปื๊ด)(โบราณคดี รุ่น ๑๕) เราสองคน เกิดความรู้สึกเดียวกัน ...ไม่กลัว
แต่ต้อง......หาเหตุผล ที่มา
เมื่อหาไม่พบ...ก็ต้องไปถามผู้รู้

ดังบันทึก ไว้ ตอนหนึ่ง ที่เข้าไปในบริเวณ

"ศาลหลักเมือง ศรีสัชนาลัย " ว่า

"เวลา ๙.๑๐ น.ที่เกิดเหตุนั้น มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์
แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

จึงลองตั้งหัวข้อ เป็นปัญหา ถามตัวเอง

ประการที่ ๑... อาจเป็นเพระความกดอากาศบางอย่าง
ประการที่ ๒... การฝังปรอทกรอของคนในสมัยโบราณตามกำแพงโบสถ์ วิหาร
ประการที่ ๓...อำนาจลึกลับของภูติผีปีศาจ
ประการที่ ๔...อำนาจบางอย่างของสิ่งที่มีอาถรรพ์ในบริเวณนั้น

แล้วก็ค้นหา เพื่อตอบคำถามนั้น ตอบได้หรือมิได้ ...นี้เป็นงานหนึ่งของนักโบราณคดี ที่มีครู เช่น

อาจารย์ คงเดช ประพัฒน์ทอง








วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

โบราณคดีผีบอก ตอนที่ ๓

โบราณคดีผีบอก ตอนที่ ๓

เริ่มแล้วจ้าา...ต้องเขียนดึก ๆ หน่อยถึงจะได้จิตวิญญาณ...อิ อิ
หลังจากที่พระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าสามกรม ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพและกรมหมื่นเสพภักดี ก่อการคิดกบฏต่อพระเจ้าอุทุมพร เมื่อเจ้าสามกรมมาเฝ้าพระเจ้าอุทุมพรสั่งให้วางคนไว้พร้อม แล้วจึงจับเจ้าสามกรมไปจำไว้ แล้วมีพระราชบัณฑูรแก่เจ้าอาทิตย์ ให้ลงพระราชอาญาสำเร็จโทษ โดยปรากฏความตอนหนึ่งว่า
"ครั้นถึง ณ วันแรม ๑๑ ค่ำ เพลาบ่าย กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดี เสด็จมาเฝ้ากรมพระราชวังและกรมขุนอนุรักษ์มนตรี ณ พระตำหนักตึก ขณะนั้นมีพระราชบัณฑูรเป็นความลับกับกรมขุนอนุรักษ์มนตรี สั่งให้วงคนไว้พร้อม และเจ้าสามกรมมิทันรู้พระองค์ จึงให้กุมเอากรมหมื่นสุนทรเทพ ไปจำไว้ ณ หอพระมณเฑียรธรรม ให้กุมเอากรมหมื่นเสพภักดี ไปจำไว้ ณ ตึกพระคลังศุภรัต ให้กุมเอากรมหมื่นจิตรสุนทร ไปจำไว้ ณ ตึกพระคลังวิเศษ แล้วตรัสสั่ง เจ้าอาทิตย์ ว่าเขาทำแก่ฉันใด จงกระทำตอบแทนฉันนั้น" และ "เจ้าอาทิตย์ จึงสั่งเจ้าพนักงานให้ลงท่อนจันทน์สำเร็จโทษเจ้าสามกรมสิ้นพระชนม์แล้ว ให้เอาพระศพไปฝัง ไว้ ณ วัดโคกพระยา ตามโบราณราชประเพณี"
ตัดมาเป็นกระสาย บางตอนจาก โบราณคดีผีบอก ตอนที่ ๓
เปรตจากตำหนักสวนกระต่าย คอยติดตามอ่านจาก นิตยสาร Sense & Scene เล่มต่อไป ซึ่งจะออกในเร็ว ๆ นี้
เครดิคภาพล่าสุด จาก สุรเจตน์ เนื่องอัมพร