Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พม่า แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พม่า แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

โบราณสถานก่อนอำลาพุกาม Hsin-paung-ok-kyaung

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันอาทิตย์ที่ ๑๙กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : Hsin-paung-ok-kyaung No.1123 

โบราณสถานก่อนอำลาพุกาม
วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเดินทาง
ทั้งในพุกาม และย่างกุ้ง
ระหว่างรอเวลา เช็คเอาท์ออกจากโรงแรม
ยังพอมีเวลาว่าง ไปเดินและถ่ายรูปโบราณสถานใกล้ ๆ 
ระยะทางเดินไม่ถึง ๑๐ นาที
ไปถึงใกล้ทางโค้ง เห็น พวกเราเดินมาแต่ไกล
นึกว่าไปนิมนต์พระที่ไหนมาด้วย
เข้าไปไกล จึงเห็นว่า พระภิกษุรูปนั้น คือ "คุณเจนนี่"
เพราะเธอใส่เสื้อ สีเหมือนจีวรพระ มาก
เที่ยวถ่ายรูปกันพักใหญ่ กับแสงอรุณเมืองพุกาม
แล้วเดินกลับ โรงแรม
เช็คเอาท์ ขึ้นรถ ไปสนามบินพุกาม
รอขึ้นเครื่องกลับไปสนามบินนานาชาติ ย่างกุ้ง













โบราณสถาน Hsin-paung-ok-kyaung No.1123 ใกล้โรงแรม Arthawka พุกาม




วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อูหม่าวหม่าวทีน ( ต่อ )

อูหม่าวหม่าวทีน ( ต่อ ) อาณาจักร คองบอง

บ้านที่มิวโยง
บ้านที่มิวโยงของอูหม่าวหม่าวทีน เป็นพระญาติกับกษัตริย์ราชวงศ์คองบองที่ก่อตั้งอาณาจักรพม่าครั้งที่สอง พระเจ้าทรงธรรมช้างเผือกเป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาทรงธรรมอลองพญา และพระราชธิดาแห่งกษัตริย์กษัตริย์โยดะยา (เจ้าก์ผวาซอ) ได้รับฉายา อุ๊ซอบะดิด (ตะขิ่นอุ๊) เมื่อครองคู่กันได้กำเนิดพระราชธิดาติริบะบ่าเทวี ขณะครองเมืองทันตะบีน พระราชธิดาติริบะบ่าเทวี และพระราชโอรสแห่งสมเด็จปู่พระเจ้ามหาทรงธรรม “เจ้าชายเกาลีน” กษัตริย์องอาจผู้ประเสริฐ เมื่อได้ครองคู่กันได้กำเนิดเจ้าชายติริตุดันมะยาซา เป็นองค์ชายใหญ่ที่วังหลวง องค์ชายใหญ่ติริตุดันมะยาซาและ”มูนติ๊ด” หลานหลวงแห่งกษัตริย์โยดะยา ขณะกำลังครองคู่กันได้กำเนิดทูลกระหม่อม มีนแยดตีฮหะจ่อ เจ้าชายกองกำลังม้า ทูลกระหม่อม มีนแยดติฮหะจ่อและพระราชนัดดาแห่งพระมารดามูนติ๊ด “ขีนยุ” เมื่อครองคู่กันได้กำเนิดอูหม่าวหม่าวทีน ผู้ซึ่งรวบรวมตำราความรู้มากมาย เช่น คองบองแวด มหายาซะวินดอร์จี ๓ พวงและตำราหนังสือที่ว่าด้วยถ้อยคำที่ใช้ในราชสำนัก
พัชรินทร์ นี่หยินนะ...แปลจากต้นฉบับ ภาษาพม่า...แจ้งว่า คำราชาศัพท์ที่ใช้หลายคำ ไม่บังอาจแก้ไข จึงใช้ตามภาษาและความหมายเดิมที่ใช้ เช่น แต่งงานกัน...ก็ใช้คำว่า...ครองคู่กัน,...ประสูติ...ก็ใช้คำว่า...กำเนิด...เป็นต้น สำนวนจึงขัด ๆ หู ไปบ้างต้องขออภัย


วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เหมี่ยนหม่าศักราช ๑๑๓๐

ช่วงที่ ๒

เหมี่ยนหม่าศักราช ๑๑๓๐ มิถุนายน ๑๓ คริสตศักราช ๑๒-๐๖-๒๓๑๑
แผ่นดินไหวสั่นอย่างรุนแรง เจดีย์ชเวดิโก่ง(ชเวดากอง)บนยอดดอกลำเจียกที่บรรจุเส้นพระเกศา ในตอนแรกเสาทรุดพองแตกแล้วยอดฉัตรหักไถล
ตามหมายรับสั่ง ให้ตำแหน่งเจ้าเมืองยั่นโก่ง(ย่างกุ้ง) ทำการซ่อมแซมให้มั่นคงดี
(ที่ ก-บ ๔๕๖-๗ ต-ซ ๓๗๒-๑๖ ว่าไว้วันเสาร์ จากวันอาทิตย์ไปถึงเสาร์ที่๑ เชิด)
หนังสือเรื่อง เหมี่ยนหม่าแย๊ดซแวตะไมย (ประวัติศาสตร์ตามวันพม่า) หน้า ๖๕
ผู้แต่ง : พระ อูเด่ยขะดั่นหม่าลี่นการะ และ ดร.ตั่นทูน
เครดิต : พัชรินทร์ นี่หยินนะ
ภาพ : google


วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อนาจักรคองบอง

อนาจักรคองบอง

เรื่องราวของชาวโยเดีย แปลจากภาษาพม่า
ด้วยความอนุเคราะห์ จาก พัชรินทร์ นี่หยินนะ แปลส่งมาให้เป็นช่วง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยชายโยเดีย
ช่วงที่ ๑
เรื่อง วรรณะโยดะยา หน้า ๒๑๙
ศักราช ๑๑๒๙ คองบองมหาสมัย พระมหาทรงธรรม พระเจ้าช้างเผือก ได้กวาดต้อนรวบรวมพระเจ้าโยดะยาและที่ได้เกี่ยวดองเป็นเชื้อสายโยดะยาทั่วทั้งแผ่นดิน หากนับเอาแล้วมาถึงเมืองอมรปุระหนึ่งแสนห้าพันหนึ่งร้อยครัว ด้วยการปล่อยลงตามย่านที่วางแผนไว้เพื่อให้รับหน้าที่ปฏิบัติงานหลวงตามที่ควร หน้าที่ราชนิกูลที่ให้ได้ทำการงานเพื่อที่จะอยู่อาศัยใต้พระบาททองคำ สมัยพระเจ้าทรงธรรมเสวยราชย์ครั้งที่สอง ณ เนินรัตนะ มัณฑะเลย์ ราชนิกูลได้รับพระเมตตาสิ่งตอบแทน ๙๑ ที่นา ที่ ๙๑ คน
จากหนังสือ ชเวนันโตง วอฮะระ อะบิ๊ดั่น 
(หนังสือว่าด้วยถ้อยคำที่ใช้ในราชสำนัก) 
ผู้แต่ง อูหม่าวหม่าวทีน

วัดกิวบ๊วกจี หรือ วิหารกู่เป้าจี ( Go Byauk Gyi )

วัดกิวบ๊วกจี หรือ วิหารกู่เป้าจี ( Go Byauk Gyi )

วัดกิวบ๊วกจี มยินกบา กิว หรือ กู่ แปลว่า ถ้ำ,บ๊วก หรือ เป้า หรือ เปย้า แปลว่า รู หรือโพรง,จี แปลว่า ใหญ่ ทั้งนี้แล้วแต่สำเนียง แต่แปลแล้วเป็นความหมายเดียวกัน ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านมยินกบา (แปลว่า ลูกม้า ) ทางตอนใต้ของพุกาม ตัววิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จัดเป็นวิหารรุ่นแรก ๆ ของพุกามที่มีหลักฐานทางศิลปกรรมอันทรงคุณค่ามาก โดยเฉพาะลวดลายปูนปั้นและจิตรกรรมฝาผนัง ที่ยูเนสโก กล่าวว่า ควรค่าต่อการไปชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของพุกาม
ตามตำนานและประวัติ ของเจติยวิหารหลังนี้ เชื่อว่า สร้างขึ้นโดยราชกุมาร (Yazakumar ) โอรสของพระเจ้ากยันสิต ที่ประสูติจากพระมเหสี พระนางตรีโลกวัตตสักกะเทวี หรือ ตรีโลกวตังสิกาเทวี นามเดิมว่า พระนางธรรมพูละ ซึ่งพระองค์ได้เมื่อครั้งหลบหนีออกจากราชสำนัก ด้วยเหตุที่ไปสมสู่กับเจ้าหญิงที่พระเจ้าหงสาวดีพระราชทานมาให้พระเจ้าอนิรุทธ์ ต่อมา พระเจ้าอนิรุทธ์หายกริ้วแล้ว ให้คนไปตามกลับมาช่วยราชการต่อ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ นั้น พระนางธรรมพูละกำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ พระเจ้ากยันสิตได้ถอดแหวนพระราชทานแหวนไว้กับพระนางธรรมพูละ แล้วกล่าวว่า “ถ้าลูกเกิดเป็นหญิงให้ขายแหวนเลี้ยงดูลูก แต่ถ้าเกิดเป็นชายให้ใส่แหวนไปหา ถ้าเราได้เป็นกษัตริย์เราจะยกบัลลังก์ให้ครองต่อจากเรา”
เนื่องจากเมื่อพระเจ้ากยันสิต เสวยราชย์ นั้น พระราชธิดาสุดที่รักพระองค์หนึ่ง ชื่อ พระนางชเวเองที ( Shwe Eng Thi ) ได้ให้กำเนิดบุตรชายองค์หนึ่ง เมื่อประสูติ นั้น ประตูทางขึ้นพระราชบัลลังก์เปิดได้เอง กลองในท้องพระโรงดังขึ้นเองโดยไม่มีใครตี พระโหราธิบดี ทำนาย ว่า พระราชนัดดาพระองค์นี้จะมีบุญญาธิการมาก จะได้ขึ้นครองราชย์ต่อ ประกอบกับพระราชนัดดาพระองค์นี้ร้องไห้งอแงไม่หยุด จะปลอบอย่างไรก็ไม่หยุด จนพระเจ้ากยัตสิต กล่าวว่าจะยกบัลลังก์ให้จึงหยุดร้อง ถือว่าเป็นคำมั่นสัญญาที่พระราชทานไว้ ตำแหน่งรัชทายาทจึงเป็นของพระราชนัดดาพระองค์นี้ ( ขึ้นครองราชย์ในพระนาม พระเจ้าอลองสิทธู ) 
เมื่อพระเจ้ากยันสิต ได้ขึ้นเสวยราชย์แล้วได้ ๒๘ ปี ถึง พ.ศ.๑๖๕๖ ราชกุมารได้เสด็จเข้ามาเฝ้าพระราชบิดา ระหว่างที่ประชวรหนัก พร้อมพระพุทธรูปทองคำอันงามล้ำเลิศที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ เพื่อเป็นการทดแทนพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมถวายสิ่งของ และดินแดนสามหมู่บ้านให้กับพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่อเป็นบุญกุศลแก่พระองค์ไปในภายภาคหน้า ขอพระองค์ทรงรับสิ่งของเหล่านี้ด้วยเทอญ พระเจ้าศรีไตรภูวณติสยะ หรือ พระเจ้ากยันสิต ได้ทรงกล่าวตอบรับ แล้วเสด็จสวรรคต ส่วนพระราชกุมาร ก็เสด็จกลับ โดยมิได้ทรงเรียกร้อง หรือทวงสิทธิ์ในราชบัลลังก์แต่อย่างใด กานกระทำเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ประเสริฐ ระลึกถึงบุญคุณกตเวทิตา ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง เป็นผู้มีจริยธรรม สมควรแก่การยกย่องสรรเสริญ
วัดนี้ถือเป็นวัดที่โดดเด่นด้วยทางด้านภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่มีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีและจัดว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังต้นฉบับของพุกามที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในพุกาม.
น่าเสียดายที่ห้ามถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังภายใน...แม้ในวิหารด้านหน้าก็ตาม แต่ถ่ายจากหน้าประตูนอกรั้วเหล็กได้...จึงได้มาแค่นี้
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล






วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อานันทะเจติยวิหาร

อานันทะเจติยวิหาร

อานันทะเจติยวิหาร ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองพุกามไปทางทิศตะวันออก ใกล้ประตูตาราบะ (สรภา)
ประวัติความเป็นมาของวัดยังไม่กระจ่างชัด บ้างว่าสร้างเพื่อยกย่องพระอานนท์ พระอัครสาวกเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางว่าสร้างตามความหมาย “อนันทปัญญา” (อนันตปัญญา) หรือพระปัญหาอันไร้ที่สิ้นสุดของพระพุทธเจ้า
อานันทะเจติยวิหาร หลังนี้ ได้ชื่อว่ามีความสวยงามมากที่สุดในพุกาม สร้างโดยพระเจ้ากยันสิต เมื่อ พ.ศ.๑๖๓๔ ตำนานอานันทเจติยวิหาร กล่าวว่า มีพระอรหันต์ ๘ รูป จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำนันทมูล เขาหิมาลัย จาริกมา ณ สถานที่แห่งนี้ ได้เทศนาโปรดพระราชาที่ปกครองเมืองในขณะนั้น คือ พระเจ้ากยันสิต พระราชาได้ฟังแล้วเกิดเลื่อมใสศรัทธา จึงสร้างอานันทเจติยวิหาร ขึ้น ณ สถานที่พบพระอรหันต์ทั้ง ๘
เจดีย์ทรงศิขระซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของ อานันทะเจติยวิหาร นั้น มีพระพุทธรูปยืนเป็นประฐานทั้งสี่ทิศ คือ
ทิศเหนือ พระกกุสันธะ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ 
ทิศตะวันออก พระโกนาคมนะ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ 
ทิศใต้ พระกัสสปะ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ 
ทิศตะวันตก พระโคตรมะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือ องค์ปัจจุบัน โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้ถูกคนร้ายลักขุดทำลายเพื่อหาของมีค่า เสียหายหมด จน U San Nyien คหบดีชาวเมืองพุกาม ในสมัยพระเจ้าสีป่อ ได้ทำการบูรณะขึ้นเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบคองบอง แทนองค์เดิม
สองข้างด้านล่างของพระพุทธโคตรมะองค์นี้ มีรูปบุคคล ๒ คน นั่งคุกเข่า คนหนึ่ง ทรงเครื่องกษัตริย์ เชื่อว่า เป็นพระรูปของพระเจ้ากยันสิต (จันสิตตะ) ผู้สร้างมหาเจติยวิหารแห่งนี้ กับ อีกรูปหนึ่งเป็นพระภิกษุ เชื่อว่า เป็น รูปพระชินอรหันต์ พระภิกษุจากเมืองมอญ ผู้นำพระพุทธศาสนาแบบเถราวาทเข้ามาในพุกามประเทศ
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐาน ว่า น่าจะมีรูปแบบแผนผังเดียวกับ วัดหน้าพระเมรุ นครปฐม แตกต่างกันเพียง ลักษณะพระพุทธรูปจากนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปยืน เท่านั้น 
โบราณสถานแห่งนี้ เสียหายเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหวใน ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เนื่องในวาระครบรอบ ๙๐๐ปี อานันทเจติยวิหาร จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ ปิดทองทั่วทั้งวัด ยังคงเหลือเฉพาะภายในที่หลบอยู่ในหลืบช่องที่มองไม่เห็นเท่านั้น
ที่วิหารด้านนอก ตามชั้นต่าง ๆ มีการประดับแผ่นดินเผาเคลือบ เรื่องชาดก ๕๕๐ ชาติ และพุทธประวัติตอนสำคัญ ๆ มีจารึกภาษามอญกำกับไว้ทุกภาพ
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล












วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Htilominlo

Htilominlo

เจติยวิหารติโลมินโล ( Htilominlo ) ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าพุกามไปทางทิศตะวันออก เป็นเจติยวิหารที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของพุกาม อาคารก่อสร้าง ก่ออิฐถือปูน ฐานกว้างยาว ด้านละ ๔๕ เมตร สูง ๕๐ เมตร โดยแบ่งออกเป็นสองชั้น ชั้นล่างส่วนของวิหารมีประตูเข้าออกสี่ทิศ โดยมีทิศตะวันออกเป็นทิศหลักทางด้านหน้า เป็นวัดที่สร้างแบบก่ออิฐถือปูน ภายในวิหารมีช่องบันได เดินขึ้นสู่ระเบียงชั้นบนได้ และวิหารแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น เจติยวิหารองค์สุดท้ายที่มีการสร้างในสถาปัตยกรรมแบบพุกาม
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล




ตำนานของเจติยวิหารหลังนี้ เล่าว่า พระเจ้าติโลมินโล หรือ พระเจ้าเขยะเถนขะนะดวงมยา ( Zeyyatheinnka Nadaungmya ) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของราชวงศ์พุกาม ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๕๔ – พ.ศ.๑๗๗๗ เป็นผู้สร้างเจติยวิหารแห่งนี้ 
พระนามของพระองค์ “ติโลมินโล” แปลว่า “ฉัตรโน้มลงให้” เหตุเพราะ เมื่อครั้งที่พระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้านรปติสิทธู ต้องการจะแต่งตั้งพระราชโอรสหนึ่งในห้าพระองค์ให้เป็นรัชทายาท ทั้งหมดถูกอัญเชิญให้มายืนเรียงกัน จากนั้นพระราชบิดาได้ทรงเสี่ยงทาย โดยนำพระเศวตฉัตรมาตั้งและอธิษฐานว่า ถ้าเศวตฉัตรโน้มลงให้ผู้ใด ผู้นั้นจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาท ผลของการเสี่ยงทายปรากฏว่า เศวตฉัตรได้โน้มเอียงไปที่พระเจ้าติโลมินโล ผู้เป็นราชโอรสองค์สุดท้อง เมื่อพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท และเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้พระนามใหม่ ว่า “ติโลมินโล” พระองค์จึงได้ทรงสร้างเจติยสถานองค์นี้ขึ้น ณ สถานที่ทำการเสี่ยงทายเศวตฉัตร
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล



ฝากภาพลายผ้าพิมพ์ อินเดีย บนเพดานคูหา เจติยวิหารติโลมินโล ( Htilominlo ) เมืองพุกาม มากัลยาณมิตร ที่ชอบผ้า ..จ้าาา






สะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี ๓ สะพาน

สะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี ๓ สะพาน

ล่องเรือจากมัณฑเลย์ครั้งนี้ รอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำอิรวดี ๓ สะพาน สะพานที่ ๑,๒ อังวะ-สะกาย,สะพานที่ ๓ สะพาน Arrawaddy Bridge ปะโคะกู( Pakokku) ยาว ๕ กิโลเมตร