Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อสันนิษฐานใหม่ ประวัติศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อสันนิษฐานใหม่ ประวัติศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้อมูลใหม่ “ศรีสูรยชลาศยะ” สระใหญ่แห่ง วนำรุง จารึก ปราสาท หิน พนมรุ้ง หมายเลข 8 ภาษาสันสกฤต

จารึก ปราสาทหิน พนมรุ้ง หมายเลข 8 ภาษาสันสกฤต

ข้อมูลใหม่ “ศรีสูรยชลาศยะ” สระใหญ่แห่ง วนำรุง

อ.กังวล คัชชิมา
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ได้เผยแพร่ผลการอ่าน

จารึกพนมรุ้งหมายเลข 8 ภาษาสันสกฤต

ที่ค้นพบที่ปราสาทพนมรุ้ง
ใน facebook Kang Vol Khatshima

โดยมีประเด็นสำคัญตอนหนึ่งกล่าวถึง

พระเจ้าสูรยวรมเทวะที่ 2 (สุริยวรมันที่ 2)

ได้ถวายสิ่งของและประติมากรรมทองคำ
แด่ปราสาทพนมรุ้ง รวมทั้งยังโปรดเกล้าฯ

ให้ขุดสระน้ำขึ้นที่ “เชิงเขาใหญ่” หรือเขาพนมรุ้ง

มีชื่อว่า “ศรีสูรยชลาศยะ”

อ.กังวล เสนอว่า
สระน้ำดังกล่าวนี้ น่าจะหมายถึง

"หนองบัวลาย"
สระน้ำขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ตรงเชิงเขาพนมรุ้ง

ด้านทิศตะวันออก

ซึ่งสร้างขึ้นตามคติของวัฒนธรรมเขมรโบราณที่มักสร้างบารายไว้ที่ด้านตะวันออกของศาสนสถาน

สอดคล้องกับ คติการสร้าง ศาลามีไฟ หรือ กุฎิฤาษี ไว้บนเส้นทางการเดินทางประมาณ ๑ วัน และหรือ ในสถานที่ก่อนเข้าเมือง หรือ ก่อนขึ้นเขา ก็มี "กุฎิฤษีบ้านบัวลาย"

ซึ่ง ที่ "บ้านบัวลาย" (ทางการใช้ชื่อผิดมานาน)
ควรจะเปลี่ยนให้ถูกต้องตามชื่อเดิม ว่า

"บาราย" ที่แปลว่า "สระน้ำขนาดใหญ่"

และยังมี ชื่อ สระที่ถูกต้อง ตามจารึกอีก ว่า

“ศรีสูรยชลาศยะ”



ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟธรรมชาติ มีร่องรอยฝายทดน้ำจากเขาลงสู่บาราย เชิงเขาด้านทิศตะวันออก ที่สร้างขึ้นโดย พระเจ้าสูรยวรมเทวะที่ ๒ (สุริยวรมันที่ ๒) โดยมีนามในจารึกว่า “ศรีสูรยชลาศยะ” ทำให้น้ำในบารายนี้ ถือ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ไหลลงมาจากเขาไกรลาส ที่ประทับแห่งพระศิวะเจ้า



บาราย เชิงเขาด้านทิศตะวันออก ที่สร้างขึ้นโดย พระเจ้าสูรยวรมเทวะที่ ๒ (สุริยวรมันที่ ๒) โดยมีนามในจารึกว่า “ศรีสูรยชลาศยะ” ทำให้น้ำในบารายนี้ ถือ เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ไหลลงมาจากเขาไกรลาส ที่ประทับแห่งพระศิวะเจ้า



กุฎิฤษี (ศาลามีไฟ) ที่พักคนเดินทาง ก่อนขึ้นหรือลงจากปราสาทเขาพนมรุ้ง สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พุทธศตวรรษที่ ๑๘



บารายเชิงเขาพนมรุ้ง ชื่อ “ศรีสูรยชลาศยะ” สร้างโดย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด



วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

สะพานเรือก

เมื่อพม่าข้าศึกยกมาล้อมพระนครศรีอยุธยา ในครั้งหลัง หาได้กลัวน้ำเหมือนดังครั้งก่อนไม่ ให้ตั้งค่ายตามโคกวัดรอบพระนคร และทำ"สะพานเรือก"ชักถึงกัน สามารถติดต่อไปมาหากันได้ทุกค่าย

สะพานเรือก คือ สะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวาย หรือเชือก. สามารถลอยขึ้นลงตามน้ำได้



วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เจดีย์ชเวสิกอง วัดมหาเต็งดอจี

เจดีย์ชเวสิกอง

ที่เจดีย์ชเวสิกอง เจดีย์สถาปัตยกรรมทรงพม่าที่ยิ่งใใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าอโนรธา



ที่วัดมหาเต็งดอจี ร้องรอยแห่งมหาเถรอุทุมพรและชาวโยเดียในเมืองสะกาย

ถึงอย่างไร ก็มีสิ่งดลใจดลเหตุการณ์ให้กลับไปคารวะและเล่าเรื่องราวของสถานที่แห่งนี้อีกครั้ง "วัดมหาเต็งดอจี " สถานที่สันนิษฐาน ว่า น่าจะเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาเถรอุทุมพร เมื่อครั้งแรกอยู่ที่เมืองสะกาย ...เห็นแล้ว ขนลุกทั้งตัว






วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พื้นที่ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ใดกันแน่

พื้นที่ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ใดกันแน่


คิดเล่น ๆ ตามหลักฐานและระยะทางที่แท้จริงจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ...
กองทัพหลวงพระมหาอุปราชา ถึงพนมทวน บ่าย ๓ โมง เกิดลมพัดเศวตฉัตรหัก เลยมาตั้งทัพชัยที่ตระพังตรุแดนสุพรรณบุรี
ทัพพระยาศรีไสณรงค์ และพระยาราชฤทธานนท์ ไปตั้งทัพขัดรับหน้า อยู่ตำบลทุ่งหนองสาหร่าย
ทัพสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ออกจากป่าโมก ๔ ทุ่ม เสวยเช้าที่ตำบลสระแก้วละเลา แล้วเสด็จไปตามท้องทุ่ง จนบ่าย ๓ โมงพบกับกองหน้าที่ล่วงหน้ามาก่อน เร่งตั้งค่าย
พระมหาอุปราชเตรียมทัพ พร้อมตีตอนรุ่งเช้ายกออกจากค่ายตะพังตรุ ตอน ตี ๑๑ (๕ ทุ่ม)
รุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง สรงมธุราภิเษก (อาบน้ำ) แล้ว เสด็จขึ้นเกยรอฤกษ์ ทัพหน้า ซึ่งยกไปถึงท้ายโคกเผาข้าว ประมาณโมงเศษ ปะทะทัพรามัญถึงตะลุมบอน ไม่รอทัพอยู่ในที่มั่นยกพลลุยขึ้นไป จนปะทะทัพพระมหาอุปราชา จนเกิดยุทธหัตถีกันขึ้น เสียพระมหาอุปราชา กองทัพที่ตามมาทันไล่ลุกตีข้าศึก จากตะพังตรุ ไปจนถึงเมืองกาญจน์
พระเจ้าอยู่หัวให้ก่อพระเจดีย์สถานตรงบริเวณที่เสียพระมหาอุปราชาไว้ที่ตำบลตะพังตรุ
สรุปจากเหตุการณ์และสถานที่ จะเห็นได้ว่า ทัพพระมหาอุปราชา ตั้งอยู่ตำบลตะพังตรุ ต่อแดนสุพรรณบุรี ทัพสมเด็จพระนเรศวร ตั้งอยู่ตำบลสระแก้ว แล้วเดินทางต่อมาอีก ประมาณ ๕ ชม จึงตั้งค่ายมั่นอีกแห่ง (ไม่รู้ตรงไหน..แต่ไม่ใช่ตำบลหนองสาหร่าย ดอนเจดีย์ เพราะเคลื่อนทัพมาแล้ว ) เคลื่อนทัพเข้าหากัน ทัพหน้าประทะทัพพม่าที่ ท้ายโคกเผาข้าว คงอยู่ในเขตเมืองอู่ทองนี้แน่นอน ตรวจสอบดูระยะทางและเวลาโดยคร่าว ๆ จากแผนที่ในกูเกิล แล้ว จุดที่เหมาะสมทั้งเวลาและเหตุการณ์ คือ บริเวณ "ตำบลยุ้งทลาย" อำเภออู่ทอง
หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่ "ตำบลยุ้งทลาย" วัด โบสถ์วิทยาคาร คือ เจดีย์สมัยอยุุธยา,ใบเสมาหินทรายแดง สมัยอยุธยา พระหินทรายและหุ่นพระพุทธรูปดินเผา สมัยอยุธยา ตัวพระอุโบสถแปลงเป็นใหม่หมดแล้ว
นำเสนอให้คิดเล่น ๆ ว่า น่าจะมีอีกสักแห่งที่เกี่ยวพันกับ เจดีย์ยุทธหัตถี ส่วนจะเชื่อหรือไม่นั้น อยู่ที่ดุลยพินิจของท่านทั้งหลายเอง
ขอขอบคุณ ผอ.เด่นดาว ศิลปานนท์ พช.อู่ทอง ที่จัดรถให้ น้องป๊อด โยธิน โพธิ์ทอง นำพาไปดูทุกสถานที่ ๆ ร้องขอ โดยเฉพาะวัดโบสถ์วิทยาคาร นำมาซึ่งการสนับสนุนความคิดข้างต้น ซึ่งคิดค้างมาเกือบ ๒๐ ปี แล้ว...