Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระมหากษัตริย์ไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระมหากษัตริย์ไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ตามรอยพระบาทยาตราสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพรจาก สุสานลินซินกอง อมรปุระ ประเทศเมียนมาร์กลับสู่ไทย

 บทความสั้น ภาพบรรยากาศ งานส่งมอบพระบรมรูปพระมหาเถระอุทุมพรเจ้า แด่ อบต คำหยาด โพธิ์ทอง อ่างทอง

คำถามทำไมต้องเป็นที่ คำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
เหตุเพราะ ครั้งหนึ่งขุนหลวงหาวัดท่านเสด็จอยู่ที่พระตำหนักคำหยาด อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง แห่งนี้



หุ่นดินต้นแบบปั้นรูปและรูปหล่อโลหะสำริด
"สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าอุทุมพร"







คณะทำงาน ตามรอยพระเจ้าอุทุมพร สู่ไทย



ทีมงานอาสาสมัคร
ไปตามรอยพระบาทยาตราสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพร
ที่สุสานลินซินกอง อมรปุระ ประเทศเมียนมาร์ รุ่นแรก 
ได้รับ ๑.พระบรมรูปสมเด็จพระมหาเถรเจ้าอุทุมพร
เนื้อหล่อสำริดผสมอัฐิพระสรีรังคารที่พบ 
จำนวน ๑ องค์ 
 ๒."ประคำ" หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล' 
เจ้าอาวาสวัดอนาลโย จ.พะเยา จำนวน ๑ เส้น
๓.หนังสือ "ส่งเสด็จพระสู่สรวงสวรรค์"
ขอขอบคุณ อาจารย์ วิจิตร ชินาลัย 
และ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน์
เป็นอย่างยิ่งครับ




วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

อะไรเป็นโอกาสให้เพื่อนบ้านบุก รุกเข้ามาอยุธยา พระมหากษัตริย์ไทย ครั้งกรุงแตก ทำอย่างไร เตรียมแผนดำเนินการเช่นไรต่อไป

 เกิดความวุ่นวายในราชสำนัก

หลังเหตุการณ์สำคัญจบแล้ว 

ต่างคนต่างหลบออกไปหาความสงบ

และวางแผนจะก่อเหตุอีก

จึงเป็นช่องเป็นโอกาสให้เพื่อนบ้านบุก รุกเข้ามา
"มีพลมากมายก่ายกองกระจายอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง
ดุจน้ำไหลอย่างเชี่ยว" 
แม้รัฐบาลจะส่งทหารออกไปป้องกันชายแดน ตามจุดยุทธศาสตร์
แต่ก็รบแพ้ เพราะไม่ตั้งใจจะรบ
ฝ่ายในกรุง  
ปืนใหญ่ในป้อมรอบพระนคร ก็ร้างราการใช้มานาน
จนหาคนใช้เกือบไม่เป็น 
ต้องเกณฑ์ให้ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยา 
"ช่วยทำป้อมปืนและฝึกหัดการยิงปืนใหญ่ ให้ด้วย"
ชาวต่างชาติเองก็ไม่เต็มใจที่จะช่วย
ได้แต่ไป "ช่วยทำป้อม 
และช่วยฝึกหัดการยิงปืนใหญ่ ให้บ้างเป็นครั้งเป็นคราว"
พวกฮอลันดาก็ต่อเรือ เตรียมไว้แต่เนิ่น ๆ 
เพื่อขนคนของตัวเองออกจากอยุธยา
ทางราชการ "ได้สั่งไปตามด่านต่าง ๆ 
ให้คอยกักคนไว้ อย่าให้ใครเข้าออกได้เปนอันขาด" 
ไว้ตั้งแต่ก่อนพม่าจะมาถึงเมือง
"ไทยได้ลงมือเตรียมการสู้ตลอด 
พวกพม่าข้าศึกได้มาเอาไฟเผาสวนที่บางกอก 
และทำลายป้อมทั้งเผาสวน
และปล้นบ้านเรือนไม่ละเว้นเลย 
ตลอดตั้งแต่ท่าเรือจอดจนถึง ชานพระนคร 
โรงเรียนใหม่หลัง ๑ ซึ่งเราได้สร้างขึ้น 
กับไม้สำหรับสร้างโรงเรียนอีกหลัง ๑ 
ก็ถูกพม่าเอาไฟเผาเสียหมดสิ้น 
ในระหว่างนั้นได้มีพวกราษฎรซึ่งเป็นชาวบ้านนอก 
เข้ามาอาศัยในกรุงวันละมาก ๆ 
เพราะเหตุว่าพวกพม่าคอยไล่จับ 
และยกทัพรุกเข้ามาทีละน้อย  
หวังจะให้ขาดเสบียงในกรุง
เพราะพวกพม่าได้ทำลายทุ่งนาบ้านเรือนโดยรอบกรุง" 
"ถ้าไทยจะคิดตัดเสบียงพวกข้าศึกแล้ว
ก็จะทำได้ง่ายที่สุด  
แต่ก็ไม่เห็นไทยคิดจัดการอย่างใดเลย"
พวกพม่าได้ยกทัพเมื่อปี ค.ศ.๑๗๖๖ (พ.ศ. ๒๓๐๙)  
พม่าได้สร้างป้อมล้อมกรุงไว้ ๓ แห่ง  
แต่ถึงดังนั้นเสบียงอาหารในกรุงก็ยังบริบูรณ์  
จะมีคนตายด้วยอดอาหาร
ก็เพียงคนขอทานเท่านั้น 
วันที่ ๑๔ เดือนกันยายน ( พ.ศ.๒๓๐๙)  
ข้าศึกจึงได้ยกมาตั้งติดประชิดกรุง
ห่างจากกำแพงเมืองเพียงระยะทางปืนใหญ่เท่านั้น  
และก็ตั้งมั่นคอยจับผู้คนเสบียงพาหนะซึ่งจะผ่านไปมา
พม่ายึดเอาด่านใหญ่ (วัดโปรดสัตว์) ไว้ได้
จึงเป็นการกระทำให้เรือออกไปสู่ปากน้ำไม่ได้จนลำเดียว  
ทุกฝ่ายที่ดูสถานะการณ์ออก
อยากคิดพยายาม จะหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ทั้งนั้น
ฝ่ายฝรั่งเศสที่โบสถ์และโรงเรียนสามเณร
เมื่อเหตุการณ์ ดูแล้ว เห็นทีจะไปไม่รอด
จึงแอบเล็ดลอด พาคนเข้ารีตส่วนหนึ่ง
หนีออกไปจากกรุงศรีอยุธยา 
โดยตั้งเป้าหมายจะเดินทางไปอยู่ "เมืองจันทบุรี" 
เพราะเมืองจันทบุรีนี้เป็นหนทางเหมาะ สำหรับจะหนีต่อไปที่อื่นได้ง่าย



วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วลี คำเด็ด ของแม่ทัพ ทุบหม้อข้าว หม้อแกง ทหารหาญ ต้องสำเร็จศึกให้จงได้ ภายในครั้งเดียว

 ไม่ต้องไปเสียเวลา...ตามหาหลักฐาน 

"สถานที่ทุบหม้อข้าว หม้อแกง"

ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เมื่อครั้งตี เมืองจันทบุรี

เพราะ คำพูดนี้เป็น "วลี คำเด็ดขาด" ของแม่ทัพ
ที่บังคับให้ทหารหาญ ต้องสำเร็จศึกให้จงได้
ภายในครั้งเดียว
เช่นเดียวกับการรบพม่า ที่มาล้อมเมืองเชียงใหม่
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๔๕ (ปีที่ ๒๑ ในรัชกาลที่ ๑)
เมื่อ กรมพระราชวังหลัง (ทองอิน) ตีพม่าที่ลำพูน แตกแล้ว
เร่งยกกองทัพขึ้นไปช่วย พระยากาวิละ ที่เชียงใหม่
เมื่อขึ้นไปถึง ตั้งทัพล้อมพม่าไว้อีกชั้นหนึ่ง 
แล้วจึงมีพระบัญชาสั่งให้
"นายทัพนายกองให้ตีพม่าให้แตก
แต่ในเวลาพรุ่งนี้ 
ไปกินข้าวเช้าในเมืองเชียงใหม่ให้จงได้" 
"ถ้าผู้ใดย่อท้อก็จะเอาโทษตามพระอัยการศึก" 
เรียกว่า "อย่างไรก็ต้องตาย ถ้าตีไม่ได้"



วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566

รูปหาดูยาก ภาพ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงถ่ายรูป วัดไชยวัฒนาราม

 ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ 

ทรงถ่ายรูป วัดไชยวัฒนาราม 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ 
วันดีคืนดี ภาพนี้ก็หายไปจากอัลบั้ม
นานโข
เพิ่งเห็นนี้แหละ
ถ่ายโดย นายซ้อน คงไสย
ผู้สื่อข่าว "ไทยรัฐ" อยุธยา
แต่ฟิล์มสี ยังคงอยู่ที่ "ปฏิพัฒน์"






วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เส้นทางเดินทัพ 3 ทาง ที่มีความสำคัญในศึกใหญ่ อยุธยา ถึง รัตนโกสินทร์ ตอนต้น

 เส้นทางเดินทัพ ที่มีความสำคัญในศึกใหญ่

เส้นทางเดินทัพ 
เข้าออกด่านเจดีย์ ๓ องค์ เมืองกาญจน์
สมัยอยุธยา กับ สมัยต้นรัตนโกสินทร์
คนตายบนเส้นทางนี้
ในสมัยสงครามยุทธหัตถี
ตายแล้วเอาซากศพไปไหน ?


เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช...มีให้เลือก
เส้นทางนี้ผ่านดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี พ.ศ.๒๑๓๕



เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช...มีให้เลือก
เส้นทางนี้ไม่ผ่านดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี พ.ศ.๒๑๓๕



เส้นทางเดินทัพสมัยรัชกาลที่ ๑ ยกไปป้องกันชายแดน ถึงสามสบ กาญจนบุรี พ.ศ.๒๓๒๙



วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เหตุการณ์ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา

 สายตระกูลวงศ์

สวัสดี...สนุกบ้างทุกข์บ้าง
หลายเรื่อง ต้องตามจากสายตระกูลวงศ์
จึงจะพบ เช่น
"ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ 
หนีออกจากเมือง พม่าขุดอุโมงค์เข้าเผาเมือง ได้ด้านหน้าวังก่อน"
"กวาดครัวผ่อนหย่อนสายเชือกให้ลงตามช่องใบเสมา  
ประตูเมืองไม่เปิดให้ออกกลางคืน
อยู่สัก ๑๕ วัน"
"ชาวพระนครทั้งปวงซึ่งมีครอบครัว สกูลต่าง ๆ   
พากันแตกแยกย้ายกระจายกระจัดหนีไป"
ครั้งนั้นกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์      
ทรงพระครรภ์อยู่ได้  ๔  เดือนเศษแล้ว      
พร้อมกันกับพระภัศดา (เจ้าขรัวเงิน)
กับพระธิดา ( สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอนัคฆนารี(ฉิม)
ตามเสด็จสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์   
ออกไปอาไศรยอยู่ด้วยในนิวาศฐานที่เดิม
ของสมเด็จพระอมรินทรา มาตย์          
ณ ตำบลอัมพวาพาหิรุทยานประเทศ      
พิเคราะห์ดูแล้ว บันทึก ทั้งใน "ราชสกุลวงศ์"
สอดคล้องกับ 
"จดหมายเหตุกรมหลวงนรินทร์ (กุ)" 
พระขนิษฐาต่างพระมารดา
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ 
ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า ทั้ง ๒ พระองค์ คือ
พระยาวชิรปราการ (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
และหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี 
(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
ถูกเกณฑ์มารักษาพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่กรุงยังไม่แตก
แต่เมื่อเห็นว่า "จะรักษาไว้ไม่ได้แล้ว" 
จึงพากันขนครอบครัว 
กระจัดกระจาย แยกย้ายกันออกจากพระนครฯ 
ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน
ก่อน "พม่าขุดอุโมงค์เข้าเผาเมือง ได้ด้านหน้าวังก่อน"




วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พระราชนิเวศน์องค์แรกในรอบ ๑๐๐ ปี ที่เมืองลพบุรี

 พระราชนิเวศน์องค์แรกในรอบ ๑๐๐ ปี

ที่เมืองลพบุรี

เรื่องราวของเมืองลพบุรี
ไม่ได้มีการกล่าวถึงในที่ใดอีกหลังจาก
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จขึ้นไป
บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ครั้ง พ.ศ.๒๑๐๗ 
จนใน ปี พ.ศ.๒๒๐๙ (๑๐๒ ปี) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  
ที่มักโปรดที่จะเสด็จไปประพาสที่ตำบลสระแก้วอยู่เนือง ๆ 
จึงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้น ณ เมืองลพบุรี 
และเสด็จสำราญพระทัยอยู่ในที่นั้น 
แล้วก็เสด็จพระราชดำเนินไป
ประพาสชมพนัสพนาวันพิศาลขรเขต วิเศษด้วยพรรณรุกขาชาติ
ร่มรื่นระหงรโหฐานแถวเถื่อนทุรัถยา 
สรรพด้วยสกุณปักษานานาสัตว์จัตุบาท
บำเทิงระเริงลานพระทัย 
และทรงพระกรุณาดำรัสให้ทำ "คลองปากจั่น"
ออกจากสระแก้ว กรุศิลายาปูนเป็นอันดี 
แล้วให้ขุดเป็นคลองไขน้ำมาแต่ทะเลชุบศร 
ตราบเท่าถึงคลองปากจั่นสระแก้ว นั้น 
แล้วให้ตั้งพระนิเวศน์ไว้ในที่นั้น 
แล้วเสด็จไปประพาสตำบลนั้นเนือง ๆ 
ขอบคุณภาพประกอบ จาก Google


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๙๙ - พ.ศ.๒๒๓๑ )



ภาพจินตนาการ บริเวณพระที่นั่งไกรสรสีหราช ที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จประพาสบ่อยจนถึงชั้นสร้างพระราชวัง ขึ้นที่เมืองลพบุรี



ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี ในอดีต



ประตูปากจั่น คลอง กรุศิลายาปูนไขน้ำมาแต่ทะเลชุบศรถึงสระแก้ว เมืองลพบุรี สร้าง พ.ศ.๒๒๐๙



พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) พระนิเวศน์ ริมทะเลชุบศร ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ตำบลสระแก้ว เมืองลพบุรี สร้าง พ.ศ.๒๒๐๙




วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนิน สงขลา

 พระราชหัตถเลขา 

ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๒ 

เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปใน ประตูวัดมัชฌิมาวาส 
มีสัปรุษถวายของประมาณห้าสิบหกสิบคน 
มีนักเรียนร้องเพลงสรรเสริญบารมีกว่ายี่สิบคน 
ได้ถวายเงินเลี้ยงพระสงฆ์ สามชั่ง 
แลเงินข้างในเรี่ยรายกันทำถนนในวัดสี่ชั่งหย่อน 
แลแจกเงินสัปรุษนักเรียน 
แล้วจึงได้กลับมาลงเรือ 
ผ้าพื้นในตลาดสงขลาปีนี้มีมากอย่างยิ่ง 
ด้วยรู้แต่ก่อนว่าจะมา 
ลงมือทอกันเสียตั้งแต่เดือนอ้ายเดือนยี่ ก็มี  
ซื้อไม่พร่องเหมือนอย่างแต่ก่อน 
เมื่อผ่านไปแล้วกลับมาก็เต็มบริบูรณ์อย่างเก่า 
แต่ผลไม้สู้ครั้งก่อนไม่ได้ 
ส้มก็ยังมีน้อยไม่หวาน มีแต่มะม่วง จำปาดะก็หายาก

เครดิต YouTube 



วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก ตอนหันหลังให้ความหลัง จากหนองมน สู่ เมืองชลบุรี

 เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก ตอนหันหลังให้ความหลัง จากหนองมน สู่ เมืองชลบุรี

บนเส้นทางเสด็จ ของพระเจ้าตากสินมหาราช
จากหนองมน สู่ เมืองชลบุรี
สืบเนื่องมาจากข้อความในพระราชพงศาวดาร กรุงธนบุรี 
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
ยกพลทหารเป็นกระบวนโดยทางบก 
ย้อนกลับมาเมืองบางปลาสร้อย หรือชลบุรี อีกครั้ง 
เพื่อปราบปราม นายทองอยู่ นกเล็ก 
เสด็จประทับที่หนองมน ๑ ราตรี 
แล้วจึงเคลื่อนทัพ ไปประทับ ณ "วัดหลวง" 
ทางใกล้เมือง ประมาณ ๑๐๐ เส้น (ประมาณ ๔ กม.)
ให้คนเข้าไปเกลี้ยกล่อม นายทองอยู่ นกเล็ก ให้สวามิภักดิ์ ได้แล้ว 
จึงเสด็จเข้าไปในเมืองชล ประทับอยู่ ณ "เก๋งจีน"
หากวัดระยะทางจาก ตำบลหนองมน 
ตัดตรงไปเข้าประตูเมืองชลบุรี (บนแนวถนนพระยาสัจจา)
ประมาณ ๗ กม.เศษ 
หมายความ ตำแหน่งที่เสด็จประทับ "วัดหลวง"
รอผลการเจรจา กับ นายทองอยู่ นกเล็ก จะต้องอยู่ ประมาณ "วัดเตาปูน"
จากการติดตาม ทราบว่า "วัดเตาปูน"
ก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับกองทัพพระเจ้าตากสินมหาราช
มาประทับที่วัดนี้ ด้วยเช่นกัน
หลักฐานที่ประจักษ์ คือ 
เจดีย์และพระอุโบสถ (เก่า)หลังนี้
ที่น่าจะมีอายุ เก่าถึงสมัยอยุธยา 
แม้จะได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ มาหลายครั้งแล้วก็ตาม
จากการศึกษารูปแบบของจิตรกรรม สี และตัวอักษร 
ตลอดจนภาษาที่เขียนแล้ว 
พออนุมานได้ว่า 
พระอุโบสถหลังนี้ อาจสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย 
มีการใช้งาน รวมทั้งเขียนภาพจิตรกรรมขึ้น ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ 
หลังจากนั้น มีการบูรณะที่มีหลักฐานเขียนไว้ 
ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ 
และต่อมาอีก ๒ ครั้งในรัชกาลที่ ๙ 
จนสุดท้าย คือการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นทางด้านหน้า 
ส่วนโบสถ์เก่าจะเปิดใช้งานเป็นครั้งคราว
โดยเจาะผนังด้านข้างทำทางเข้าใหม่ในปัจจุบัน 
เป็นเหตุให้ภาพจิตรกรรมส่วนของห้องนี้
ในส่วนที่เจาะช่องประตูใหม่ถูกทำลายไปโดยปริยาย.


เส้นทางทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากที่ประทับตำบลหนองมน จะเข้าเมืองชลบุรี


เจดีย์ประธาน วัดเตาปูน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี















โบราณสถาน และ ศิลปะ ภาพจิตรกรรม บนผนัง พระอุโบสถหลังเก่า วัดเตาปูน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี



หันหลังให้ความหลัง จากหนองมน สู่ เมืองชลบุรี ที่ พระอุโบสถหลังเก่า วัดเตาปูน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี




เส้นทางเดินทัพพระเจ้าตาก ตอน โรงเรียนธรรมภาพจนาลัย

 เส้นทางเดินทัพพระเจ้าตาก ตอน โรงเรียนธรรมภาพจนาลัย

โรงเรียนธรรมภาพจนาลัย 
หลักฐานการเป็นแหล่งชุมชนที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่ง คือ 
อาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียวใต้ถุนสูง มีบันไดทางขึ้น ๒ ข้าง
ประกอบลายฉลุไม้ที่ช่องลมใต้ชายคา,เหนือหน้าต่างและระเบียง 
มีจารึกที่หน้าจั่วว่า “โรงเรียนธรรมภาพจนาลัย พ.ศ.๒๔๗๖” 
(ตรงกับปีที่ ๙ ในรัชกาลที่ ๗) หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อาคารหลังนี้ คงเป็นแบบที่นิยมสร้างคล้าย ๆ ในยุค 
รัชกาลที่ ๖ - รัชกาลที่ ๗ 
วัดกระแจะ,วัดสบแจะ 
คงเคยเป็นแหล่งสถานการให้การศึกษามาตั้งแต่เดิม 
ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของวัด
ที่เป็นแหล่งของการเรียนรู้ทั่วไปมาแต่โบราณ 
และพัฒนามาเป็นโรงเรียนสอนพระเณร 
“ศาลาการบาเรียน” หรือ “ศาลาการเปรียญ”   
จนต่อมา เมื่อมีแผนการพัฒนาทางการศึกษา
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ 
ซึ่งเน้นนโยบายทางการศึกษา
ข้อ ๑ คือ “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่และทั่วถึง แก่ราษฎร” 
ดังนั้น จึงมีการสร้างโรงเรียนสอนราษฎร 
มากขึ้นหลายแห่ง ในช่วงระยะเวลานี้ 
แต่ส่วนใหญ่ก็ยัง ตั้งอยู่ในบริเวณวัด เช่นเดิม  
โรงเรียนธรรมภาพจนาลัย แห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน 
ที่สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาของราษฎร เป็นรุ่นแรก ๆ ของจังหวัดปราจีนบุรี





เส้นทางเดินทัพพระเจ้าตาก ศาลเจ้าพ่อลิ้นทอง ปากน้ำด่านสบแจะ

 ศาลเจ้าพ่อลิ้นทอง ด่านกบแจะ ปราจีนบุรี

ศาลเจ้าพ่อลิ้นทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง 
ตรงข้ามกับวัดกบแจะ 
ปากลำน้ำหลายสายที่ไหลมาสบกับแม่น้ำบางปะกง เช่น 
แม่น้ำประจันตคาม คลองบางแห คลองบางไผ่ คลองกุด เป็นต้น 
ดังนั้น ในบริเวณนี้จึงย่อมมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น 
และเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่ง  
ด้วยเหตุดังกล่าว ชุมทางน้ำบริเวณนี้ 
จึงเหมาะสมที่จะตั้งเป็นด่านเก็บภาษี
และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 
ที่ปากน้ำมีศาลเจ้าหลังหนึ่ง เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อลิ้นทอง” 
เป็นที่นับถือของชาวเรือ ที่มาค้าขาย 
แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็น คือ 
นายด่าน ต้องเป็นชาวจีน และ ชุมชนบริเวณนี้
 ก็ต้องเป็นชาวจีน ด้วย
ขอบคุณภาพประกอบบางภาพจาก google





ศาลเจ้าพ่อลิ้นทอง ปากน้ำด่านสบแจะ ตรงข้ามวัดกระแจะอ.เมือง จ.ปราจีน





ลวดลายปูนปั้นดอกพุดตาน กรอบหน้าต่าง วัดกระแจะ อ.เมือง จ.ปราจีน


เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก วัดกบแจะ

 เส้นทางเดินทัพ พระเจ้าตาก ยุทธภูมิ ด่านกบแจะ ปราจีนบุรี

กองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ข้ามด่านกบแจะ 
จะหยุดพักพลทหารหุงอาหาร 
แล้วให้ยกพลข้ามทุ่ง
ไปหยุดประทับ ที่สำนักหนองน้ำ 
(วันจันทร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน(๒) มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ ) 
บ่ายสี่โมง 
พม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำโจ้โล้ ทั้งทัพบกทัพเรือ 
มาขึ้นที่ "ท่าข้าม ( วัดสง่างาม/ วัดท่าข้าม)" 
ไล่แทงฟันคนที่เลื่อนล้า มา 
จึงให้คนหาบเสบียงครัวไปก่อน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 
ทรงนำทัพออกมาด้วยหลวงชำนาญไพรสณฑ์ 
พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดี นายแสง
ยกออกไปรับล่อพม่านอกปืนใหญ่น้อยที่วางพลปืนไว้ในพงแขม 
เมื่อได้ระยะปืน กองทัพไทย วางปืนยิงพม่าล้มตายทับกันเป็นอันมาก 
ถึง ๓ ครั้ง 
จนสุดท้ายพม่า แตกกระจัดกระจายไป 
จึงเคลื่อนพลตามกองเสบียงที่ล่วงหน้าไปก่อน


วัดกบแจะ สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งใกล้ด่านกบแจะ ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี


ตำแหน่งพม่ายกขึ้นมาทางปากน้ำโจ้โล้ ขึ้นท่าข้าม (วัดสง่างาม) และตามตีคนที่เลื่อยล้า มาทางสำนักหนองน้ำ เขตเมืองศรีมโหสถ ทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับทหาร ยกพลส่วนหนึ่งย้อนกลับไปทางเดิมจนเกิดปะทะกัน เรียกว่า"ยุทธภูมิด่านกบแจะ"


แม่น้ำประจันตคาม ไหลมาสบกับแม่น้ำบางประกง ที่เหนือด่านกบแจะ ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี


สะพานแขวน ข้ามแม่น้ำบางปะกง ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี







วิหาร สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่วัดกบแจะ ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดกบแจะ ต.ท่างาม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปราจีนบุรี