Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โบราณสถานพม่า แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โบราณสถานพม่า แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Htilominlo

Htilominlo

เจติยวิหารติโลมินโล ( Htilominlo ) ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าพุกามไปทางทิศตะวันออก เป็นเจติยวิหารที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของพุกาม อาคารก่อสร้าง ก่ออิฐถือปูน ฐานกว้างยาว ด้านละ ๔๕ เมตร สูง ๕๐ เมตร โดยแบ่งออกเป็นสองชั้น ชั้นล่างส่วนของวิหารมีประตูเข้าออกสี่ทิศ โดยมีทิศตะวันออกเป็นทิศหลักทางด้านหน้า เป็นวัดที่สร้างแบบก่ออิฐถือปูน ภายในวิหารมีช่องบันได เดินขึ้นสู่ระเบียงชั้นบนได้ และวิหารแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็น เจติยวิหารองค์สุดท้ายที่มีการสร้างในสถาปัตยกรรมแบบพุกาม
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล




ตำนานของเจติยวิหารหลังนี้ เล่าว่า พระเจ้าติโลมินโล หรือ พระเจ้าเขยะเถนขะนะดวงมยา ( Zeyyatheinnka Nadaungmya ) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของราชวงศ์พุกาม ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๕๔ – พ.ศ.๑๗๗๗ เป็นผู้สร้างเจติยวิหารแห่งนี้ 
พระนามของพระองค์ “ติโลมินโล” แปลว่า “ฉัตรโน้มลงให้” เหตุเพราะ เมื่อครั้งที่พระราชบิดาของพระองค์ คือ พระเจ้านรปติสิทธู ต้องการจะแต่งตั้งพระราชโอรสหนึ่งในห้าพระองค์ให้เป็นรัชทายาท ทั้งหมดถูกอัญเชิญให้มายืนเรียงกัน จากนั้นพระราชบิดาได้ทรงเสี่ยงทาย โดยนำพระเศวตฉัตรมาตั้งและอธิษฐานว่า ถ้าเศวตฉัตรโน้มลงให้ผู้ใด ผู้นั้นจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาท ผลของการเสี่ยงทายปรากฏว่า เศวตฉัตรได้โน้มเอียงไปที่พระเจ้าติโลมินโล ผู้เป็นราชโอรสองค์สุดท้อง เมื่อพระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท และเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้พระนามใหม่ ว่า “ติโลมินโล” พระองค์จึงได้ทรงสร้างเจติยสถานองค์นี้ขึ้น ณ สถานที่ทำการเสี่ยงทายเศวตฉัตร
เครดิต เรื่อง "๖๐ วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า" ..ภภพพล จันทร์วัฒนกุล,กูเกิล



ฝากภาพลายผ้าพิมพ์ อินเดีย บนเพดานคูหา เจติยวิหารติโลมินโล ( Htilominlo ) เมืองพุกาม มากัลยาณมิตร ที่ชอบผ้า ..จ้าาา






เจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda)

เจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda) 

เจดีย์ชเวซิกอง (Shwezigon Pagoda) "ชเวสิกอง" หมายถึง เจดีย์ทองแห่งชัยชนะ (ชเว = ทอง) 
เป็นเจดีย์ใหญ่ ทรงระฆังคว่ำพื้นผิวภายนอกถูกปิดด้วยทองคำเปลว ปัจจุบันมีความสูงราว ๕๓ เมตร หรือ ๑๖๐ ฟุต มีลวดลายปูนปั้นอยู่ ๓ แถว และมีเจดีย์เล็ก ๆ เป็นบริวารอยู่รายรอบ 
เจดีย์ชเวซิกอง สวยงาม ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศพม่า เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวพม่าและชาวไทย ตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม สร้างโดย พระเจ้าอนิรุทธ์ แล้วเสร็จในรัชกาลพระเจ้ากยันสิต แห่งอาณาจักรพุกาม ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภายในเจดีย์เชื่อว่าบรรจุพระเขี้ยวแก้วมาจากลังกา และพระสารีริกธาตุ ส่วนพระนลาฏ (หน้าผาก) และพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) มาจากเมืองศรีเกษตร โดยอัญเชิญมาจากลังกา บนหลังช้างเผือก พระเจ้าอนิรุทธ์ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าช้างเผือกคุกเข่าลงที่ใด จะสร้างเจดีย์ไว้ที่นั้น ช้างเผือกได้มาหยุดและคุกเข่าตรงตำแหน่งของพระธาตุชเวซิกอง จึงให้สร้างเจดีย์ขึ้น แต่สร้างได้เพียงแค่ฐานสามชั้น พระเจ้าอนิรุทธิ์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระเจ้ากยันสิต ทรงครองราชย์ต่อจากพระเจ้าสอลู ได้สร้างเจดีย์นี้ต่อจากการแนะนำของพระชินอรหันต์ จนสำเร็จในที่สุด 
ปัจจุบันพระเจดีย์ชเวซิกอง ถือเป็นหนึ่งในห้าแห่งปูชนียสถานที่สำคัญสูงสุดของชาวเมียนม่าร์ (มหาสถาน ๕ แห่ง ได้แก่ พระธาตุชเวซิกอง เมืองพุกาม,พระธาตุชเวดากอง เมืองร่างกุ้ง,พระธาตุชเวมอดอว์ (มุเตา) เมืองหงสาวดี,พระธาตุชเวสันดอว์ เมืองแปร,และพระมหามัยมุนี เมืองมัณฑเลย์




บางส่วนของแผ่นภาพดินเผา ชาดก ๕๐๐ ชาติรอบพระเจดีย์ชเวซิ กอง (Shwezigon Pagoda) เมืองพุกาม...ใครอ่านออก แปลภาพได้ ช่วยบรรยายเป็นวิทยาทานครับ








พระพุทธรูปประทับยืนปางประทานพร ในปราสาททั้งสี่ทิศของพระธาตุชเวซิกอง เป็นการแสดงถึงอดีต พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป คือ 
พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระโกนาคมพุทธเจ้า
พระกัสสปพุทธเจ้า
พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล)
ส่วนองค์ที่ ๕ คือ พระอริเมตไตยพุทธเจ้า เป็นอนาคตพระพุทธเจ้า ซึ่งยังไม่มาอุบัติ




ภาพแกะไม้พุทธประวัติ (โคตมพุทธเจ้า) ในศาลา พระธาตุชเวซิกอง เมืองพุกาม





เจดีย์ชเวสันดอ

เจดีย์ชเวสันดอ

เจดีย์ชเวสันดอ ตั้งอยู่นอกเมืองพุกามไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๑-๒ กิโลเมตร คำว่า ชเวสันดอว์ แปลว่า “เจดีย์พระเกศาทองคำ” เจดีย์แห่งนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ในราชวงศ์พุกาม ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าอนิรุทธ์เป็นผู้สร้างเจดีย์แห่งนี้ เมื่อคราวที่นำกำลังทหารไปช่วยเมืองหงสาวดีต่อสู้กับกองทัพขอม เมื่อได้รับชัยชนะขับไล่ขอมออกไปแล้ว จึงได้รับพระราชทานเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าและพระราชธิดาเป็นบำเหน็จรางวัลจากพระเจ้าหงสาวดี โดยให้แม่ทัพ คือ พระเจ้ากยันสิตเมื่อครั้งยังเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้อัญเชิญกลับมายังเมืองพุกาม
ระหว่างทางพระเจ้ากยันสิตแอบมีความสัมพันธ์กับพระราชธิดาพระเจ้าหงสาวดี เมื่อมาถึงเมืองพุกาม พระเจ้าอนิรุทธ์ทรงทราบเรื่อง จึงให้จับพระเจ้ากยันสิต ๆ หลบหนีออกจากเมืองไปหลบอยู่ในป่าบริเวณที่ตั้งวิหารนากายน ส่วนพระเกศาธาตุนั้น พระเจ้าอนิรุทธ์ทรงให้สร้างเจดีย์ชเวสันดอว์นี้บรรจุไว้
ในบริเวณพระเจดีย์แห่งนี้ยังมีรูปปั้นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูตั้งอยู่บริเวณลานของวิหาร จึงมีชื่อเรียกแบบฮินดูว่าเจดีย์กาเนซา (Ganesha Pagoda) เจดีย์แห่งนี้เป็นจุดชมวิวทุ่งเจดีย์สุดลูกหูลูกตาที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกต่างไม่พลาดที่จะมาเยือนเพื่อเก็บภาพความประทับใจทั้งยามพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกที่ต้องแสงสีแดงอ่อนแห่งยามเย็นและยามเช้าอย่างงดงามถ่ายภาพความประทับใจกลับไปเป็นที่ระลึกตามอัธยาศัย




การจัดการให้โบราณสถานอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างมีความสุข

การจัดการให้โบราณสถานอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างมีความสุข

ชอบการจัดการบริหารอุทยานประวัติศาสตร์ ทุ่งเจดีย์ที่พุกาม ในเรื่องของการจัดการให้โบราณสถานอยู่ร่วมกับประชาชนได้อย่างมีความสุข เพราะทางการ แม้จะกันขอบเขตให้เป็นเขตเมืองโบราณ และห้ามไม่ให้ปลูกบ้าน สิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ ในบริเวณ แต่อนุญาตให้ประชาชน เป็นเจ้าของที่ดิน และทำการเกษตรกรรม ในพื้นที่ของตนเอง อย่างมีอิสระ
ทำให้นึกถึง.....
โบราณสถาน เวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา หาก ดำเนินการจัดการได้เช่นนี้ จะเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ ที่มีเสน่ห์แห่งหนึ่ง ของประเทศไทย

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัดเยตาพัน หรือวัดมะเดื่อ

ตามประวัติเดิมว่า วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ สมเด็จพระมหาเถรอุทุมพร 

วัดเยตาพัน หรือวัดมะเดื่อ
ตามประวัติเดิมว่า วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ สมเด็จพระมหาเถรอุทุมพร 
วัดทีี ๑ หลังจากปรับเปลี่ยนรายการวัดที่ ๒ ไปเป็นวัดแรก คือ
วัดเยตาพัน หรือวัดมะเดื่อ
ตามประวัติเดิมว่า วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้น เพื่อให้ สมเด็จพระมหาเถรอุทุมพร ย้ายจากวัดมหาเต็งดอจี ทางฝั่งเมืองสะกาย ให้มาสถิตย์อยู่ที่วัดสร้างใหม่ใต้เมืองอังวะ และพระองค์ได้สร้าง พระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้นจากไม้มะเดื่อทั้งองค์
พระเจดีย์ประธานทางด้านหลัง เป็นพระเจดีย์ใหญ่ที่เหลือเป็นซากโบราณสถาน กองอิฐขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนของอิฐที่หักพังลงมา ได้นำไปก่อเป็นพระประธานขึ้นใหม่ในวิหารข้างหน้า
รอบ ๆ เจดีย์ประธานมีเจดีย์ อีกหลายองค์ เจดีย์ที่มีเรือนธาตุองค์หนึ่งมีพระพุทธรูปแบบพระบัวเข็ม มีเรือนแก้วไม่ปิดทองทางด้านหลัง ลักษณะการแกะไม้ช่อฟ้าใบระกา ไม่เหมือนศิลปะแบบเมียนมาร์ ที่หางหงส์ทั้งสองข้างไม้เป็นรูปกินรี ดีดพิณน้ำเต้าข้างหนึ่ง ร่ายรำอีกข้างหนึ่ง
ต่อมาพระพุทธมะเดื่อ ชำรุดจึงได้สร้างพระซ่อมขึ้นใหม่ในลักษณะพระบัวเข็มครอบไว้อีกชั้น
เจดีย์ที่สร้างขึ้นในวัดดอกเดื่อ ( Resaphan Pariyatti Technicial Monastary ) มีรูปทรงสองแบบ คือ แบบที่มีเรือนธาตุ ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในคูหา กับแบบที่ฐานเป็นชั้นสิงห์ และฐานย่อมุม ๑๒ บ้าง ๒๐ บ้างง ลดหลั่นขึ้นไป ๓ ชั้น รองรับองค์ระฆังเป็นทรงเจดีย์ ฐานค่อนข้างตั้งตรง ไม่เฉียงเอียงสอบเข้าเหมือนเจดีย์เมียนมาร์ ทั่ว ๆ ไป











การค้นพบโบราณสถานในพม่า

วัดที่ ๒ ของการเดินทาง เยือนมัณฑะเลย์

การค้นพบโบราณสถานในพม่า

วัดที่ ๒ ของการเดินทาง เยือนมัณฑะเลย์ ในครั้งนี้ เพราะเส้นทางจากสนามบินไปวัดตาโมดชเวกูจี ทางที่ใกล้สุด ถูกน้ำท่วม จึงต้องย้ายไปเข้าอีกทาง หลังจากชมวัดเยตาพัน แล้ว
วัดตาโมดชเวกูจี (Shinpin Shwegugyi )
Tamote วัด Shinpin Shwegugyi ตั้งอยู่ที่เมือง เจ๊าแซ (Kyaukse ) รัฐมัณฑะเลย์
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ( ค.ศ.๑๙๙๓ ) ชาวบ้านพบ มีร่องรอยของเจดีย์อยู่ภายใต้เนินดินที่คิดจะสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่บนเนินดินแห่งนี้ จึงได้แจ้งให้กรมศิลปากร เมืองมัณฑเลย์ ทราบ จนใน ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ( ค.ศ.๒๐๐๘ ) ทางกรมโบราณคดี ได้ส่งสถาปนิกและนักโบราณคดี คือ Tampawaddi U Win Maung มาดำเนินการขุดค้น ขุดแต่งที่เนินเจดีย์แห่งนี้ และพบว่า พระเจดีย์องค์นี้ มีการสร้างซ้อนทับกันหลายครั้งหลายสมัย คือ 
ชั้นในสุด หรือ ชั้นที่เก่าที่สุด สร้างขึ้นโดย พระเจ้าอนวรัฐะ (Anawrahta ) ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๑๕๘๗ - พ.ศ.๑๖๒๐ (ค.ศ.๑๐๔๔ – ค.ศ.๑๐๗๗ ) 
ต่อมา พระเจ้านรปติสินธุ (Narapatisithu ) ครองราชย์อยู่ระหว่าง ปี พ.ศ.๑๗๑๖ – ๑๗๕๓ (ค.ศ.๑๑๗๓ – ๑๒๑๐ ) ได้มาสร้างครอบทับอีกชั้นหนึ่ง สมัยอาณาจักรพุกาม
และสุดท้าย ในรัชสมัย พระเจ้าอุษาณะ ( Uzana ) ราชวงศ์ภิญญา ของพม่า ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๖๗ – พ.ศ.๑๘๘๖ (ค.ศ.๑๓๒๔ – ค.ศ.๑๓๔๓ ) หลังจากนั้นเนินเจดีย์แห่งนี้กูถูกทิ้งร้างและถูกปกคลุมด้วยธรรมชาติ ทำให้ยังคงรักษาหลักฐานและสภาพของสิ่งก่อสร้างสมัยพุกาม ไว้ได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งได้มีการขุดค้นพบและอนุรักษ์ไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาศิลปแบบพุกาม ที่น่าสนใจมาก แห่งหนึ่ง ในรัฐมัณฑเลย์
ภาพปูนปั้นที่เป็นของเดิมค่อนข้างสมบูรณ์มาก เพราะถูกรักษาไว้ใต้ดินโดยธรรมชาติและวิธีการสงวนรักษาด้วยวิธีการแบบโบราณคือการก่อสร้างสมัยถัดมา ไม่ได้รื้อศาสนสถานเก่า เพื่อสร้างใหม่ แต่สร้างด้วยการถมทรายปกปิดศาสนสถานเก่า ไว้ชั้นหนึ่งก่อน ๆ ที่จะสร้างศาสนสถานอีกยุคลงไปบนที่เดิม เมื่อลอกดินออกจึงเห็นการสร้างที่พอกทับเป็นชั้น ๆ และค่อนข้างสมบูรณ์
ส่วนการรักษาด้วยกรรมวิธีสมัยปัจจุบัน คือ รักษาภาพปูนปั้นเก่าไว้ เติมเท่าที่จำเป็นและเห็นแบ่งแยกกันได้ชัดเจน เจาะเส้นทางเพื่อให้ผู้เข้าชม เห็นชั้นยุคสมัยที่แตกต่างกันได้ทุกสมัย สร้างอาคารขนาดใหญ่คลุมเจติยสถาน และโบราณสถานที่ขุดแต่งแล้ว ไว้ทั้งหมด...ทำให้รักษาโบราณสถานที่ขุดแต่งและอนุรักษ์แล้ว ตลอดจนผู้เดินดูชม ได้ทุกแง่มุม และมีความสุข
ส่งภาพประกอบมาดูพอเป็นน้ำจิ่มว่า แวดวงโบราณคดีใกล้ ๆ บ้านเรา เขาขุดเอง รักษาเอง โดยไม่ได้จ้างเหมา งานที่ออกมาเป็นอย่างไร ?....



















วัดตาโมดชเวกูจี (Shinpin Shwegugyi )...เพิ่มเติม ให้เห็น วิธีการอนุรักษ์ของกรมโบราณคดี เมียนมา นอกจาก การแตะต้องโบราณสถานให้น้อยที่สุดแล้ว ยังรักษาแม้กระทั่งต้นไม้เดิมไว้ด้วย ทำให้ดูมีชีวิต มากขึ้น