Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สุโขทัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สุโขทัย แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

อาถรรพ์ อิง ประวัติศาสตร์ วัดร้าง โบราณสถาน ในดวงใจ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์

อาถรรพ์ อิง ประวัติศาสตร์ วัดร้าง โบราณสถาน ในดวงใจ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ฉบับเต็ม

๑ หมู่บ้านโปรตุเกส
๒ เมืองเก่า ศรีสัชนาลัย
๓ วัดห่อหมก อำเภอ บางไทร
๔ ข้อมูลใหม่ “ศรีสูรยชลาศยะ” สระใหญ่แห่ง วนำรุง
๕ วัดกะชาย

เข้าสถานที่ยามวิการ


วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์ แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

มู -ไม่มู

มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์ แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

ศิษย์นี้มีครู อยู่เสมอ
ทุกสิ่งเรื่อง พบเห็น และเจอะเจอ
บันทึกอ้าง อิงเสมอ ไม่ลืมเลือนฯ

สมุดบันทึก สำรวจวัดใน อยุธยา - อ่างทอง...ปี ๒๕๑๕

ด้วยลายมือ อาจารย์ คงเดช ประพัฒน์ทอง

และเหตุการณ์ (ตัวอักษรแดง) ที่เกิดขึ้น ที่ เมืองศรีสัชนาลัย
สุโขทัย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕

เมื่อเกิดแปลกประหลาดขึ้น มีพยานในที่เกิดเหตุ คือ นายพรชัย สุดลาภา (ปื๊ด)(โบราณคดี รุ่น ๑๕) เราสองคน เกิดความรู้สึกเดียวกัน ...ไม่กลัว
แต่ต้อง......หาเหตุผล ที่มา
เมื่อหาไม่พบ...ก็ต้องไปถามผู้รู้

ดังบันทึก ไว้ ตอนหนึ่ง ที่เข้าไปในบริเวณ

"ศาลหลักเมือง ศรีสัชนาลัย " ว่า

"เวลา ๙.๑๐ น.ที่เกิดเหตุนั้น มิใช่จะไม่เชื่อ ในเรื่องไสยศาสตร์
แต่ต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงบางอย่าง

จึงลองตั้งหัวข้อ เป็นปัญหา ถามตัวเอง

ประการที่ ๑... อาจเป็นเพระความกดอากาศบางอย่าง
ประการที่ ๒... การฝังปรอทกรอของคนในสมัยโบราณตามกำแพงโบสถ์ วิหาร
ประการที่ ๓...อำนาจลึกลับของภูติผีปีศาจ
ประการที่ ๔...อำนาจบางอย่างของสิ่งที่มีอาถรรพ์ในบริเวณนั้น

แล้วก็ค้นหา เพื่อตอบคำถามนั้น ตอบได้หรือมิได้ ...นี้เป็นงานหนึ่งของนักโบราณคดี ที่มีครู เช่น

อาจารย์ คงเดช ประพัฒน์ทอง








วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

หลักศิลาจารึก สุโขทัย หลักที่ 1

หลักศิลาจารึก สุโขทัย หลักที่ 1 ถูกปลอมขึ้นหรือไม่ และ บันทึกเรื่องราวอะไร

ถอดความโดย ท่านอาจาย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ
ถ่ายทอดเรื่องราวโดย ท่านอาจารย์ ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ และ ความสัมพันธ์ ของเมืองสุโขทัย กับเมืองต่างๆ เช่น ศรีเทพ ลพบุรี เพชรบูรณ์ อยุธยา และ เชียงใหม่ เป็นต้น


วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

เจดีย์องค์หนึ่งในวัดมหาธาตุ อยุธยา

เจดีย์องค์หนึ่งในวัดมหาธาตุ อยุธยา เทียบกับเจดีย์วัดเขาพระบาทน้อย สุโขทัย

เจดีย์องค์หนึ่งในวัดมหาธาตุ อยุธยา เทียบกับเจดีย์วัดเขาพระบาทน้อย สุโขทัย ใกล้เคียงกัน 
แต่พัฒนาการต่างกัน 
คือ 
เจดีย์วัดมหาธาตุคลี่คลายมาจากการนำเอาเจดีย์ทรงปราสาท มาผสมกับเจดีย์ทรงระฆัง 
และ 
พัฒนาจากองค์ระฆังกลมมาเป็นเหลี่ยมและลากเส้นย่อมุมขึ้นไปจนถึงองค์ระฆังจนถึงบัลลังก์ 
ในขณะที่ เจดีย์วัดเขาพระบาทน้อย ไม่ได้ทำเช่นนั้น ยังคงเป็นฐานสี่เหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไป 
แถมมีฐานเท้าสิงห์แบบหยาบ ๆ ประกอบด้วย
เป็นการพัฒนาการของเจดีย์ในต่างกลุ่มช่างกัน แต่ก็ควรอนุมานว่า
อยู่ในช่วงของต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เหมือนกัน


วัดพระบาทน้อย

วัดพระบาทน้อย เป็นวัดที่พระองค์ (รัชกาลที่ ๖ ) ทรงแนะนำให้ควรไปชมเป็นอย่างมาก 

ทรงเชื่อว่าเป็นวัดสำคัญของพ่อขุนรามคำแหง ชาวบ้านในย่านเมืองเก่าก็ยังคงขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท ให้เห็นในช่วงการเสด็จประพาส บนเขาพระบาทน้อยมีเจดีย์ทรง"จอมแห" มีมุข 4 ด้าน ใกล้เคียงกันมีฐานของพระเจดีย์แปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ ทรงพระราชทานเหตุผลต่อการพังทลายของพระเจดีย์ใหญ่นี้ว่า เป็นความโลภของมนุษย์ที่มีการขโมยและค้นหาทรัพย์สินมีค่าที่บรรจุไว้ในเจดีย์ “ถ้าคนเหล่านั้นได้ใช้ความเพียรพยายามและกำลังกายที่ได้ใช้ทำลายโบราณวัตถุนั้นในทางที่ดีที่ควรแล้ว บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองหาน้อยไม่”
จาก...เที่ยวเมืองพระร่วง และ “ศิลปะสุโขทัยและอยุธยา ภาพลักษณ์ที่ต้องเปลี่ยนแปลง” ของอาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ 2545

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ภาพลายปูนปั้น วัดพระพายหลวง

ภาพลายปูนปั้น วัดพระพายหลวง

ภาพลายปูนปั้น วัดพระพายหลวง ถ่ายเมื่อ ครั้งสมัย นายพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร คนแรก ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๗๗ - พ.ศ.๒๔๘๕ ตรวจราชการโบราณสถานจังหวัดสุโขทัย
เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบัน



วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จานสังคโลก สมัยสุโขทัย

จานสังคโลก สมัยสุโขทัย

นักโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ขุดพบ ก้นชามใบนี้ ที่บริเวณเตาทุเรียง สุโขทัย ใกล้กับวัดพระพายหลวง แสดงให้เห็น ว่า ช่างทำเครื่องสังคโลก ได้มีการออกแบบเขียนรูปปลาน้ำจืด ในเมืองสุโขทัย ลงไปด้วย เตาทุเรียงสุโขทัย ผลิต เครื่องถ้วยชาม แบบนี้ มาตั้งแต่ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จนถึง ๒๒ จึงเลิกผลิต