Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุกาม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุกาม แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2566

โบราณสถานก่อนอำลาพุกาม Hsin-paung-ok-kyaung

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันอาทิตย์ที่ ๑๙กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : Hsin-paung-ok-kyaung No.1123 

โบราณสถานก่อนอำลาพุกาม
วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเดินทาง
ทั้งในพุกาม และย่างกุ้ง
ระหว่างรอเวลา เช็คเอาท์ออกจากโรงแรม
ยังพอมีเวลาว่าง ไปเดินและถ่ายรูปโบราณสถานใกล้ ๆ 
ระยะทางเดินไม่ถึง ๑๐ นาที
ไปถึงใกล้ทางโค้ง เห็น พวกเราเดินมาแต่ไกล
นึกว่าไปนิมนต์พระที่ไหนมาด้วย
เข้าไปไกล จึงเห็นว่า พระภิกษุรูปนั้น คือ "คุณเจนนี่"
เพราะเธอใส่เสื้อ สีเหมือนจีวรพระ มาก
เที่ยวถ่ายรูปกันพักใหญ่ กับแสงอรุณเมืองพุกาม
แล้วเดินกลับ โรงแรม
เช็คเอาท์ ขึ้นรถ ไปสนามบินพุกาม
รอขึ้นเครื่องกลับไปสนามบินนานาชาติ ย่างกุ้ง













โบราณสถาน Hsin-paung-ok-kyaung No.1123 ใกล้โรงแรม Arthawka พุกาม




ร้าน The Village House พุกาม มีเจดีย์ของโบราณสถาน เป็นแบกกราว

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันเสาร์ที่ ๑๘กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : อาหารเย็น ของ Trip พุกาม 

จบรายการอาหารมื้อค่ำ
ที่ร้านในหมู่บ้าน West Pwazaw 
ชื่อร้าน The Village House
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเมืองพุกาม 
ระยะการเดินทางประมาณ ๑.๒ ไมล์ (๑.๙๒ กม.) ไม่ไกลนัก 
บรรยากาศเป็นชนบทดี 
มีการติดไฟส่องสว่างที่เจดีย์ของโบราณสถาน เป็นแบกกราวด้วย
เนื่องจากเดือนนี้ มีคนเกิด ๒ คน คือ คุณเอ็ม กับเรา 
คณะทัวร์ จึงสั่งเค้กมาให้เป่า
เนื่องในวันเกิดด้วย 
ถ่ายรูปร่วมกันอีกครั้ง กับเจ้าของร้านและครอบครัว
ก่อนเดินทางออกจากร้าน The Village House 
กลับสู่ที่พัก ระยะทาง ประมาณ ๕ นาที ( ๒.๑ ไมล์ / ๓.๓๖ กม.) 
ถึงที่พักแล้ว แยกย้ายกันไปพักผ่อนตามอัธยาศัย 
ราตรีสวัสดีเมืองพุกาม












เครื่องเขินพุกาม ที่ U Ba Nyein Lacquerware

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันเสาร์ที่ ๑๘กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : เครื่องเขินพุกาม ที่ U Ba Nyein Lacquerware

เปลี่ยนบรรยากาศจากการชมโบราณสถาน
แห้ง ๆ ซ้ำ ๆ ในภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าว
เข้าไปชม ร้านผลิตเครื่องเขิน ของพุกาม
ที่ U Ba Nyein Lacquerware
งานหัตถกรรมอย่างเครื่องเขิน 
เป็นงานที่ทำและใช้กันแพร่หลายในประเทศเมียนมาร์
และทางภาคเหนือของประเทศไทย 
พม่าเรียก "เครื่องเขิน" ว่า "ยูนเถ่" 
หรือเครื่องใช้ของ "คนยวน" หมายถึง "ไทยวน" 
ซึ่งส่วนมากอยู่ในบริเวณแปดจังหวัดของภาคเหนือของไทย 
และรวมไปถึงในรัฐฉานตะวันออกด้วย 
การทำเครื่องเขิน
เริ่มจากใช้ ตอกไม้ไผ่สานขึ้น
เป็นโครงของภาชนะที่ต้องการจะทำ 
แล้วจึงทาด้วยยางรักหลาย ๆ ชั้น 
การทารักในชั้นแรก
จะเป็นการยึดโครงของผิวภาชนะ
ให้เกิดความมั่นคง
แล้วจึงผึ่งให้แห้ง 
จากนั้นจึงทารักชั้นต่อ ๆ ไป
เพื่อตกแต่งพื้นผิวของภาชนะให้เรียบ 
ทำขั้นตอนนี้ประมาณ  ๒ - ๓  ครั้ง 
จากนั้นจึงทารักเงาในชั้นสุดท้าย
เป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม 
อาจเพิ่มเติมด้วยการเขียนลวดลาย 
การปิดทาง หรือการขุดผิวให้เป็นร่องลึก
แล้วฝังรักสีที่ต่างกันเป็นลวดลายสวยงาม 
หากเป็นภาชนะทั่วจะนิยมใช้รักสีดำ
และตกแต่งด้วยสีแดงของชาด 
ส่วนภาชนะที่ใช้ในพิธีการต่าง ๆ 
จะทำการตกแต่งเชิงศิลปะ เช่น 
ใช้ทองคำเปลวประดับ 
บางชิ้นอาจมีการปั้น กดรัก พิมพ์รักให้เป็นลวดลาย 
ลวดลายที่นิยมทำมีทั้งลายกนก 
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเฟื่อง ลายบัว ลายรักร้อย 
ลายประจำยาม ลายก้านขด ลายกระจัง ลายธรรมชาติ 
ตลอดจนภาพนิทานชาดก 
และลายสิบสองราศี 
ภาชนะที่นิยมทำเป็นเครื่องเขิน ได้แก่
เชี่ยนหมาก พาน ขันโอ ขันโตก ขันน้ำ ถาด
ปัจจุบัน เมื่อมีการผลิตภาชนะด้วยวัตถุดิบต่าง ๆ 
เช่น พลาสติก อะลูมิเนียม หรือสแตนเลส
ที่มีความทนทาน สะดวก หาซื้อง่าย 
ทำให้ความนิยมในการใช้เครื่องเขินลดลงไป 
แต่ก็ยังคงมีการผลิตเครื่องเขิน
เพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของที่ระลึก
ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาวพม่า 
แต่การผลิตเครื่องเขินในหลาย ๆ แหล่ง
มีการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ
เนื่องจากความสะดวกสบายในการจัดหา และสามารถผลิต
เพื่อจำหน่ายได้รวดเร็วขึ้น 
เช่น การใช้สีน้ำมันแทนการใช้ยางรัก เป็นต้น 
ซึ่งก็อาจจะทำให้คุณค่าของเครื่องเขินลดลงไป.

















วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

น้ำตาลเมา ก่อนเข้าเมืองพุกาม

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันเสาร์ที่ ๑๘กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : กินข้าว Popa ดื่มน้ำตาลเมา Sugar Shop

ได้เวลาพอสมควร เมื่อทุกคนกลับลงมาครบแล้ว 
กลับไปขึ้นรถที่มารอรับ จนเกือบถึงทางลงด้านหน้า 
แวะรับประทานอาหารกลางวัน
(11.55 น.) ที่ร้าน Yangon Restaurant 
ซึ่งร้านนี้ ไม่ทำอาหารประเภทเนื้อวัว และเนื้อหมู 
จึงมีแต่ไก่และปลา เท่านั้น  
หลังจากรับประทานอาหารกลางวัน 
แวะที่จุดแยกเข้าเขตอุทยานฯโปปา  
ให้สมาชิกซื้อดอกจำปาดอง ผลไม้ ฯลฯ 
จากนั้นเดินทางกลับไปทางเก่าที่มาเมื่อเช้า 
ข้ามเขาสั้น ๆ 
ค่อนข้างชันมาก็ลงสู่ที่ราบ 
แวะซื้อของที่ระลึกกันอีกครั้ง 
ที่ Paing Toddy Sugar Shop 
ร้านนี้ ตกแต่งด้วยผลิตผลอที่ทำจากต้นตาล 
สวยงาม สะดุดตา 
มีสาธิตทำน้ำตาลเมา ด้วยหม้อตาล 
หลายคนซื้อกระบวยลูกตาล และ หม้อตาลไปด้วย 
โดยเฉพาะเท่ห์  
เราลองชิม น้ำตาลเมา ไปหลายกระบวย
สบาย ๆ ก่อนเข้าเมืองพุกาม