Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความเชื่อของชุมชน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความเชื่อของชุมชน แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2566

เรื่องเล่าที่ Popa แม้ พระพุทธเจ้า จะมา ผี หรือ นัต ก็ยังอยู่

 "บันทึกหลังเที่ยว ย่างกุ้ง,หงสาวดี,พุกาม" 

๑๖ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

วันเสาร์ที่ ๑๘กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๖

ตอน : แม้ "พระพุทธเจ้า"จะมา "ผี" หรือ "นัต" ก็ยังอยู่

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์พงศาวดารพม่า กล่าวว่า
เมื่อแรกเริ่มตั้งอาณาจักรพุกาม 
พระพุทธศาสนาเป็นที่ยอมรับนับถือของพระเจ้าอโนธามังช่อ 
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ( พ.ศ.๑๕๘๗ - พ.ศ.๑๖๒๐ ) 
ไม่โปรดที่ชาวพม่าขณะนั้น 
นับถือความเชื่อพื้นเมือง 
เช่น ผี หรือ นะ และนักบวชอะยี 
จึงทรงให้กวาดล้างจัดระเบียบครั้งใหญ่ 
แต่ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ ไสยศาสตร์ ลี้ลับขมังเวทย์ 
ยังคงอยู่ในสายเลือดคนพม่า 
ภูเขา "โปปา"แห่งนี้ 
เคยเป็นภูเขาไฟที่ระเบิดและดับแล้วมาก่อน 
ด้วยความที่ลักษณะที่สูงเด่นของภูเขาโปปา
แลดูเสมือน เขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล 
จึงถูกเลือกให้เป็นที่สถิตของเหล่า “นัต” 
วิญญาณ ภูตผี จากผู้ที่เสียชีวิตด้วยการถูกฆ่า  
หรือถูกทรมานด้วยวิธีต่างๆ 
ดวงวิญญาณจึงไม่ไปสู่สุคติ 
มีทั้งคนธรรมดาและผู้ที่มียศศักดิ์ไปจนถึงกษัตริย์.
ตามความเชื่อของคนเมียนมาร์
และ ด้วยการพบเห็นปาฏิหาริย์ต่างๆ 
ที่เกิดบนยอดเขาแห่งนี้อยู่เนืองๆ 
ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น 
กลายเป็นที่เกรงกลัวของชาวบ้านจึงมีการตั้งศาล 
และนำรูปปั้นเหมือนจริงตั้งไว้ให้คนกราบไหว้บูชา 
โดยถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
ที่ช่วยปกป้องดูแลบ้านเมือง 
และยังสามารถขอในสิ่งที่ต้องการได้อีกด้วย
แม้พระพุทธศาสนา จะเจริญรุ่งเรือง
สืบต่อมาโดยตลอด 
จนถึงปัจจุบัน
แต่ การนับถือ "ผี" หรือ "นัต" 
ก็ยังคงอยู่ในจิตและวิญญาน ของชาวเมียนมาร์ 
มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ด้วยเช่นเดียวกัน.






วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

ตามรอยเส้นทางเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ตอนที่ 28 เนินดิน ในทุ่งดอนแก้ว

 ตามรอยมหาราข ( ๒๘ )

 "เนินดิน"mound" ในทุ่งดอนแก้ว"
ข้อมูล เนินดินแห่งนี้
อ้างจากท่านมุ้ย ( ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)
เมื่อครั้งท่านเสด็จไปตรวจพื้นที่ ทุ่งดอนแก้ว
ทอดพระเนตรเห็น mound ในทุ่ง
จึง ให้ เฮลิคอปเตอร์ ลง และเข้าไปสำรวจ
ท่านมุ้ย สันนิษฐาน ว่า
 "จะเป็นที่ตั้งพระบรมศพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
ในค่ายหลวง ก่อนจะนำพระบรมศพ 
เคลื่อนย้ายกลับพระนครศรีอยุธยา
ตามข่าวที่ได้รับทราบมาว่า
ที่กลางเนินดินแห่งนี้ มี 
ลานปูแผ่นอิฐ เป็นบริเวณอยู่แห่งหนึ่ง
คณะเรามีโอกาส ได้เดินเข้าไปจนติดขอบชายเนิน
แต่ไม่มีวาสนา จะเดินผ่าน
วงล้อมของป่าที่รกชัฏ เข้าไปตรวจพิสูจน์ได้ 
เพราะบนท้องฟ้าก็เริ่มมืดครึ้ม 
มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เหมือนฝนจะตกลงในอีกไม่ช้า
จึงจำเป็นต้องกลับออกมา
น่าเสียดาย  น่าเสียดาย น่าเสียดาย


mound (เนินดิน ) ทุ่งดอนแก้ว สันนิษฐาน ว่า จะเป็นบริเวณที่ตั้งพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช






วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565

พระมาลา ที่เวียงแหง ที่เชื่อกันว่า เป็นของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่มีข้อสรุป แต่เป็นของบุคคลสำคัญ เพราะเหตุใดโปรดติดตาม และ ถ้าใช่อาจไม่ได้ถูกใช้ในการศึก

 พระมาลาที่เชื่อกันว่าเจ้าไทยใหญ่ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช







เส้นทางเดินทัพครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร มหาราช มุ่งสู่ เวียงแหง

 เมืองกึ๊ด

ที่พักทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช “เวียงกึ๊ด”ระหว่างทางไปเวียงแหง ริมน้ำแม่แตง





วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม พระผู้สืบทอดเจตนารมณ์ ของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

 เที่ยวสงขลาครั้งที่ ๒ (๒๓-๒๖ มิ.ย.๖๕)

แล้วกลับมาเล่าเติม

"หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม" 

พระผู้สืบทอดเจตนารมณ์ ของหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด 

จนในปี พ.ศ.๒๕๐๐ 
หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม 
ศิษย์สำนักวัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง 
จากวัดพะโคะ  อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ได้เข้ามา ปฏิบัติธรรม อยู่ในสถานปฏิบัติธรรม ต้นเลียบ แห่งนี้
ท่านมีความสามารถ ช่วยเหลือรักษาผู้ที่ถูกคุณไสย ได้ 
ทำให้ชาวบ้าน นับถือและเชื่อกันว่า 
ท่านเป็นผู้ที่เมตตามหานิยม มีวาจาสิทธิ์  
เมื่อท่านมาจำพรรษาที่ สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ต้นเลียบ 
ก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง 
ทั้งบ้านวัดเล็ก บ้านเลียบ 
มาช่วยกันพัฒนาเพื่อให้
เหมาะเป็นสถานที่เจริญธรรม วิปัสสนากรรมฐาน ต่อไป
ก่อนเวลาที่หลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม  
จะมรณภาพ ๑ ปี 
ท่านได้กำหนดรู้วันมรณภาพของท่านล่วงหน้า 
จึงได้เขียนพินัยกรรม ไว้ ในปีนั้น คือ  พ.ศ.๒๕๓๘ ว่า  
จากนี้ไปอีกหนึ่งปี 
ท่านจะมรณภาพ ในวันอาทิตย์ ก่อนเข้าพรรษา 
ห้ามเผาศพ ให้เก็บศพท่านไว้ ศพจะไม่เน่าเปื่อย 
แต่ไม่มีใครเชื่อ 
ครั้นถึงวันก่อนวันเข้าพรรษา ๗ วัน  
ท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดว่า จะละสังขารแล้ว  
ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา๒๑.๒๐ น. 
ท่านได้มรณภาพ ไปอย่างสงบ 
รวมอายุท่านได้ ๙๙ ปี ๔๐ พรรษา 
ยังคงเหลือแต่ร่องรอยการปฏิบัติและคุณงามความดี
ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เจริญรอยตามและยึดเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป 
ปัจจุบัน
สรีระสังขาร ของหลวงปู่จำเนียร โชติธัมโม
ไม่เน่าเปื่อย มีสภาพแข็งเหมือนหิน 
บรรดาลูกศิษย์ และคณะกรรมการ
จึงได้เก็บรักษาร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว 
ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม 
ณ สำนักสงฆ์ต้นเลียบ หมู่ที่ ๑ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีลูกศิษย์ลูกหาที่ศรัทธาเคารพนับถือ
และผู้ที่ท่านเคยช่วยเหลือต่างแวะเวียนเข้ามากราบไหว้สรีระของท่าน
อย่างต่อเนื่อง 
ต้นเลียบต้นนี้ กระทรวงวัฒนธรรม 
คัดเลือกให้เป็น  “รุกขมรดกของแผ่นดิน” 
คือ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ 
มีความสำคัญต่อชุมชน 
และหรือมีตำนานเรื่องราวประกอบ 
อยู่ในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ 
และเป็นต้นไม้หายาก








วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

วัดบ่อทรัพย์ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสงขลา๒

 "สทิง สิงขร สงขลา"

๒๔ - ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕

ตอน : วัดบ่อทรัพย์ "บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสงขลา๒"

วัดบ่อทรัพย์ ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาเขียว 
เมืองสงขลา ๒ (แหลมสน) อ.สิงหนคร จ.สงขลา
สถานที่ตั้งวัดอยู่ในแนวเดียวกับวัดอื่น ๆ 
ที่มีทางเดินต่อเชื่อมกันได้ ทั้ง ๔ วัด ตั้งแต่วัดสุวรรณคีรี (วัดออก)  
วัดบ่อทรัพย์ วัดศิริวรรณาวาส และวัดภูผาเบิก
ที่เชิงเขา ก่อนขึ้นไป วัดบ่อทรัพย์ 
มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ มากกว่าบ่ออื่น ๆ ทั้งหลาย
ในเมืองสงขลา ๒ (แหลมสน) 
ลักษณะของบ่อมีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ ๗ เมตร 
กรุด้วยอิฐขนาดใหญ่ เรียกว่า "บ่อซับ” 
เพราะเป็นบ่อน้ำที่เก็บน้ำใต้ดิน 
ที่ซึมซับน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา ไว้
ดังนั้น บ่อนี้จึงขุดขึ้นมา เพื่อเก็บน้ำซับ ที่เป็นน้ำจืด 
และมีความจำเป็นสำหรับชุมชนในย่านนี้ 
ทั้งวัด และ ชาวบ้านไทย จีน และอิสลาม  
ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่จะกล่าว ว่า 
บ่อน้ำแห่งนี้มีคุณค่า ประดุจทรัพย์สิน อันหาได้ยาก  
น้ำในบ่อนี้ จึงถือเป็นประดุจ "บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์" 
และเรียกชื่อเป็นสามัญว่า “บ่อทรัพย์” 
ในอดีต บ่อซับวัดบ่อทรัพย์ 
เป็นที่เลื่องลือในการรักษาโรค ว่า 
เมื่อนำน้ำจากบ่อนี้ ไปดื่มกินและอาบ
จะทำให้หายจากโรคร้ายทั้งหลายทั้งปวง

เครดิตตามภาพ








วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564

วัดหนองกระดี่นอก หลวงพ่อเคลือบ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี สร้าง ในรัชกาลที่ ๕

 วัดหนองกระดี่นอก หลวงพ่อเคลือบ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี สร้าง ในรัชกาลที่ ๕

วัดหนองกระดี่นอก ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี 
รถนำ เท่ห์,โกศล และสุรเจตน์ 
จอดที่หน้าประตูทางเข้าวัดหนองกระดี่นอก
ส่วนหนูยลรวี วิ่งเข้าไปจอดข้างใน ใกล้รถขายไอศรีม  
ยังไม่เห็นรถอีก ๒ คัน ตามเข้ามา ยังนึกแปลกใจ 
กำลังจะกินไอศรีม รอ 
แต่ปรากฏว่า โกศล เข้ามาตาม บอกว่า 
ไม่ได้เจตนา จะเข้าที่วัดหลวงพ่อเคลือบ สาวรธัมโม นี้ 
แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ก็พึงรู้ประวัติวัดไว้สักหน่อยก็จะเป็นการดี
ประวัติวัดหนองกระดี่ กล่าวว่า 
คุณหลวงศุภมาตรา ( เคลื่อน ศรลัมพ์ ) นายอำเภอหนองกระดี่ 
เริ่มสร้างวัดนี้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๓๑ 
( ตรงกับ ปีที่ ๒๑ ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘ ( ตรงกับปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๖ ) 
มี หลวงพ่อเคลือบ เป็นเจ้าอาวาส องค์แรก
หลวงพ่อเคลือบ ท่านเป็นพระเกจิที่รู้จักกันดี
ในหมู่ศรัทธาสาธุชนชาวเมืองอุทัยธานี 
จนได้รับการขนานนามว่า 
"หลวงพ่อเคลือบ วาจาสิทธิ์ พูดอย่างไร เป็นอย่างนั้น" 
ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 
"เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง" อีกด้วย 
แต่ก่อน รูปหล่อรูปเหมือนท่าน
เคยประดิษฐานอยู่ ที่วิหารหน้าวัด หลังนี้ 
ต่อมาเมื่อถนนตัดผ่าน ได้ตัดผ่าพื้นที่วัดออกจากกัน 
สิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นในพื้นที่ปัจจุบัน 
จากนั้น จึงนำรูปหล่อหลวงพ่อเคลือบไปประดิษฐานไว้ในที่ใหม่ 
ส่วนวิหารเดิมหลังนี้ 
จึงกลายเป็นโบราณสถานที่ทิ้งรูปเคารพแตกหัก 
และบรรดากุมาร ทั้งหลายแทน


วัดหนองกระดี่นอก ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี





วิหารที่เคย ประดิษฐานรูปเหมือน หลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่นอก ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี


วิหารปัจจุบัน ที่ ประดิษฐานรูปเหมือน หลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่นอก ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี




หลวงพ่อเคลือบ วาจาสิทธิ์ พูดอย่างไร เป็นอย่างนั้น" และได้รับการยกย่องว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง"


วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ใบโพเผือก ใบเป็นสีขาว ทั้งใบอ่อนและใบแก่ ไม่มีใบใดเป็นสีเขียวเลย วัดเตาอิฐ กิ่ง อำเภอราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา

อัตชีวประวัติ ปฏิพัฒน์(วัชรินทร์)

ชีวิตรับราชการ ช่วงที่ ๓

วัดเตาอิฐ : ตอน..."โพเผือก"

วันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒

 ออกจากวัดชลวารี 
ผ่านไปตามหมู่บ้าน ย่านเมืองเก่า ที่มีรั้วติด ๆ กัน 
ไม่ห่างไกล ดูอบอุ่นเป็นพี่น้อง รักใคร่กลมเกลียวกันดี 
หลายบ้านเป็นเรือนฝากระดาน 
บางหลังมุงด้วยแฝกต่ำลงจนเกือบจะเรี่ยถึงพื้นดิน 
อันอาจบ่งบอกได้ถึงลักษณะของเชื้อชาติดั่งเดิม
ของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
วัดที่ตั้งใจจะไปตรวจ คือ "วัดเตาอิฐ" กิ่ง อำเภอราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อ เข้าเขต "วัดเตาอิฐ"
เห็นพระอุโบสถ ดูไม่เก่าเท่าไรนัก 
แต่ที่น่าสนใจ คือ เจดีย์ ๓ องค์ 
เราไปจอดรถในที่ร่มรื่น ใกล้ “ต้นโพเผือก” 
ที่เป็นข่าวโด่งดังในหนังสือพิมพ์ พักหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ 
เข้าไปดูใกล้ ๆ เห็นใบโพเป็นสีขาวจริง ๆ 
ทั้งใบอ่อนและใบแก่ 
ไม่มีใบใดเป็นสีเขียวเลย 
สำหรับใบที่แก่มาก ก็แห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลแก่ ตั้งแต่ริมใบเข้ามา
ลักษณะของ"โพเผือก" ต้นนี้ 
ไม่ได้ แตกแยกสาขา มาจากต้นแม่ ที่หน้าอุโบสถ 
ได้ยินว่า แต่เดิมขึ้นในที่ใกล้ ๆ กับป่าช้า  
หลวงตาที่วัดไปเห็น ต้นล้ม มีไม้ทับอยู่ 
จึงขุดย้ายเอามาปลูกในที่ใหม่ 
เพราะเห็นใบสีแปลกกว่าใบโพธรรมดา 
ต่อมาไม่นาน ต้นโพก็แตกใบอ่อน เพิ่มขึ้น 
และ สีของใบโพก็ยังเป็นสีขาวเหมือนเดิม 
จึงเกิดเป็นข่าวดัง แพร่หลายไป ถึง สื่อหนังสือพิมพ์
จนมีผู้คนมากราบไหว้กันมากมายจนถึงทุกวันนี้ (พ.ศ.๒๕๒๒)
ขอบคุณภาพประกอบ จาก google


ภาพถ่ายแสดงที่ตั้ง "วัดเตาอิฐ" อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา


พระอุโบสถ วัดเตาอิฐ อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา



ต้นโพเผือก หน้าพระอุโบสถ วัดเตาอิฐ อ.ราชสาส์น จ.ฉะเชิงเทรา


วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

พระกริ่งรูปเหมือน พระครูบุญมา กบินทร์บุรี

อัตชีวประวัติ ปฏิพัฒน์(วัชรินทร์)

ชีวิตรับราชการ ช่วงที่ ๓

ตอน : พระกริ่งรูปเหมือน พระครูบุญมา กบินทร์บุรี

วันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒
วันนี้ ตั้งใจไปสำรวจโบราณสถาน
ตามที่พบจากแผนที่ 
ในเขตตำบลลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
ฝนตกหนัก  
ทางเข้าลำบาก บ้านปราสาท 
น้ำป่าไหลแรงมาก แต่ก็สนุกสนาน 
เข้าไปถึงพบ "ปราสาท และ กำแพงศิลาแลง  กองหนึ่ง
อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ 
กลับออกมา เติมน้ำมันที่ "วัดศรีษะเมือง" อ.กบินทร์บุรี
ได้พบกับท่านพระครูบุญมา เจ้าอาวาส
ท่านแจก พระกริ่ง รูปเหมือนท่านพระครู บุญมา 
คนละ ๑ องค์
ปล. ต้องตรวจสอบ ไม่รู้อยู่บ้านไหน ?
ขอบคุณ ภาพและแผนที่ประกอบ จาก Google

แผนที่แสดงเส้นทาง จากวัดศรีษะเมือง ไป บ้านปราสาท อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี








ปราสาทศิลาแลง สถาปัตยกรรมแบบขอมในประเทศไทยอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘


บาราย ใกล้กับ ปราสาทศิลาแลง สถาปัตยกรรมแบบขอมในประเทศไทยอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘



 พระกริ่งรูปเหมือนพระครูบุญมา วัดศรีษะเมือง อ.กบินทร์บุรี


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ลูกอม หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา

อัตชีวประวัติ ปฏิพัฒน์(วัชรินทร์)

ชีวิตรับราชการ ช่วงที่ ๓

ตอน : ลูกอม หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา

วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒
  อาจารย์จิรา จงกล กับพี่ตัวเล็ก (เพ็ญพรรษ์ ดำรงศิริ)  
แวะมาชวนไป จ. ปราจีนบุรี 
ข้าพเจ้าไปกับอาตุ๊ รังสรรค์  และ คนงาน ๒ คน 
หน่อยเป็น พขร. ไปถึง พช.ปราจีนบุรี 
ดู ความเสียหายต่าง ๆ  แล้ว
ไปดูตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ 
กะว่าจะขึ้นทะเบียน เพราะสวยและมีประวัติ 
แวะกินอาหารกลางวัน ซื้อผลไม้ 
จากนั้นย้อนกลับมาดู "เรือ"  ที่ อ.พนมสารคาม 
ขอเศษไม้จากเรือและเสาเพื่อนำไปวิเคราะห์ 
ได้เห็นฆ้องโบราณที่กุฎิพระที่เฝ้า 
ท่านพาไปดู ชะรอยว่า จะขุดพบในที่เดียวกัน  
ก่อนกลับแวะรับ วัตถุมงคล
 "ลูกอม หลวงพ่อบุญมี" วัดบึงกระจับ คนละ ๑ ลูก 
อนึ่ง หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา 
ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้โด่งดังทางด้านการสร้าง "ลูกอม" 
มี ชื่อเสียงด้าน "กรรมฐานในการออกธุดงค์" 
คาถาที่ใช้ภาวนา คือ “อะระหัง” กับ “นะ ขัตติยะ”
ขอบคุณภาพ และข้อมูล บางตอน จาก Google

อาจารย์ จิรา จงกล วาดภาพ โดย อาจารย์ จำรัส เกียรติ์ก้อง





หนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๕ ศิลปวัตถุ กรุงรัตนโกสินทร์ เขียนโดย ภัณฑารักษ์ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


วัดบึงกระจับ ใกล้กับสถานที่พบเรือ สมัยทวาราวดีอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา สร้างหลัง พ.ศ.๒๕๒๒


หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา



ลูกอม หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา


วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เส้นทางเดินทัพพระเจ้าตาก วัดหนองสระเกตุ ไป บ้านพัทยา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประทับ

พัทยา,พัทธยา,ทัพพระยา 

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึก ต่อไว้ ว่า

(นายกล่ำ) “จึงนำเสด็จพระดำเนินเข้าไปประทับในสถานที่อันควร” 

ที่บ้านนาเกลือ
สถานที่อันควร นั้น คือ สถานที่เช่นไร ?
ตรวจสอบจากGoogle Map แล้ว พบว่า 
มีวัด ที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพ
ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ คือ 
"วัดหนองเกตุใหญ่" 
ตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 
เพราะไม่ห่างจากวัดมากนัก ประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตร  
มีหนองน้ำแห่งหนึ่ง ชื่อ “หนองปลาไหล” 
เหมาะที่จะตั้งกองทัพซึ่งมีกำลังพลมากพอสมควร
ตามประวัติวัดหนองเกตุใหญ่   ระบุว่า 
วัดนี้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๔ สมัยกรุงธนบุรี 
แต่มี มุขปาถะของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า 
ผู้สร้างวัดนี้ เป็นพระผู้ใหญ่ รูปหนึ่ง 
ที่หอบ ระฆังลูกหนึ่ง หนีพม่ามาจากกรุงศรีอยุธยา 
มาอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งใกล้หนองน้ำ เรียกชื่อว่า 
“วัดหนองใหญ่” 
ต่อมา ท่านมาสร้างวัดขึ้นใหม่อีก ๑ วัด 
ชื่อ "วัดหนองเกตุใหญ่" 
สร้างโบสถ์ 
และ หอระฆัง สำหรับแขวนระฆังอยุธยา ลูกนั้น 
ไว้ที่ "วัดหนองเกตุใหญ่" ด้วย
ตรวจสอบตำแหน่ง ที่ตั้งของ"วัดหนองใหญ่" พัทยา แล้ว 
๑.ไม่มีร่องรอยของโบสถ์เก่า สมัยอยุธยา หลงเหลืออยู่ 
๒. อยู่ใกล้กับสถานที่ ที่จะต้องประทับในวันรุ่งขึ้นมากเกินไป 
จึงไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่ 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และกองทัพ ของพระองค์
จะประทับอยู่ที่ วัดหนองใหญ่ 
ก่อนจะเคลื่อนพลไป ประทับที่ พัทยา
ดังที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ว่า 
“ครั้นรุ่งขึ้น วันอังคาร แรม ๖ ค่ำ เดือน ๒ ปีจออัฐศก 
( จ.ศ. ๑๑๒๘ ,ตรงกับวันอังคารที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๓๐๙ )
“นายกล่ำ (กลม) คุมพล ๑๐๐ นำเสด็จ(จากวัดหนองเกตุใหญ่)
ไปถึง พัทยา หยุดประทับแรมที่นั้น” 
(ประมาณ ๑๔ - ๑๕ กม.)
ต่อมาชาวบ้าน เรียกชื่อ 
ตำบลที่ นายกล่ำ (กลม) นำ ไพร่พลของพระยาตาก ไปประทับแรม ว่า 
“บ้านทัพพระยา” 
ซึ่งยังปรากฎชื่อบ้านนามเมืองอยู่ จนทุกวันนี้



ระยะทางเดินเท้า จาก วัดหนองสระเกตุ ใกล้หนองปลาไหล ไป บ้านพัทยา (ทัพพระยา)
ระยะทางประมาณ ๑๔ - ๑๕ กม.



ด้านหลัง พระอุโบสถ วัดหนองเกตุใหญ่ (ก่อนบูรณะ)
ประวัติ สร้าง พ.ศ.๒๓๑๔

ลักษณะสถาปัตยกรรม
อยุธยาตอนปลาย -ธนบุรี - ต้นรัตนโกสินทร์


ด้านข้าง พระอุโบสถ วัดหนองเกตุใหญ่ (ก่อนบูรณะ)
ประวัติ สร้าง พ.ศ.๒๓๑๔
ลักษณะสถาปัตยกรรม (โบสถ์ไม้)
อยุธยาตอนปลาย -ธนบุรี - ต้นรัตนโกสินทร์


ด้านหน้า พระอุโบสถ หลังเก่า ,หลังใหม่ ล่าสุด
และ หอระฆัง วัดหนองเกตุใหญ่ (ก่อนบูรณะ)
ประวัติ สร้าง พ.ศ.๒๓๑๔
ลักษณะสถาปัตยกรรม
อยุธยาตอนปลาย -ธนบุรี - ต้นรัตนโกสินทร์


ด้านหน้า พระอุโบสถ วัดหนองเกตุใหญ่ (ก่อนบูรณะ)
ประวัติ สร้าง พ.ศ.๒๓๑๔
ลักษณะสถาปัตยกรรม
อยุธยาตอนปลาย -ธนบุรี - ต้นรัตนโกสินทร์