Best Thai History

Amps

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สมเด็จพระเอกาทศรถ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สมเด็จพระเอกาทศรถ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565

ตามรอยเส้นทางเดินทัพ ครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ตอนที่ 11

 ตามรอยมหาราช (๑๑)

"แยกทัพหน้า ไป เมืองฝาง ที่แม่แตง"

ความในพระราชพงศาวดาร ทุกฉบับ

กล่าวสอดคล้องกันว่า

"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็ยกพยุหะโยธาทัพ 

เสด็จไปโดย "เมืองห้างหลวง

พระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

ก็ยกทัพหลวงเสด็จไปโดยทางเมืองฝาง."

แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองพระองค์ เสด็จออกจากเมืองเชียงใหม่

พร้อมกัน และ มาแยกขบวนทัพ เป็นสองทัพ 

ที่ตำบล แม่แตง โดยทัพหลวง ของสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า

เสด็จไปทาง "เมืองห้างหลวง" หรือ "อำเภอเวียงแหง" ในปัจจุบัน

และทัพสมเด็จพระเอกาทศรถ แยกขบวนเดินทางตรงขึ้นไป

ตั้งทัพ ที่ เมืองฝาง 

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นบริเวณที่ตั้ง "วัดอรุโณทัย"

ซึ่งจะเป็นจุดชายแดนข้ามไปฝั่งพม่า

จากบันทึกเรื่องราวในพระราชพงศาวดาร 

จะเปลี่ยน การกล่าวถึง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ

จาก "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์"

มาออกพระนาม "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ว่า 

"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง"

และออกพระนาม "สมเด็จพระเอกาทศรถ"  ว่า

"พระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"












วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วัดโพธารามอยุธยา

วัดโพธาราม

วัดโพธาราม ที่กล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัด (หน้า๑๙) พระเอกาทศรถ ให้สร้างวัด ....วัดโพธาราม วัดหนึ่ง อยู่นอกกรุงทิศตะวันตกเฉียงเหนือเมือง  และว่าด้วยพิธีสิบสองเดือน ใน (หน้า๑๐๖) เดือน ๓ ชื่อ พิธีธัญญาเธาะ  จึงออกไปเผาเข้าทุ่งวัดโพธาราม
 ในพงศาวดารพระนครศรีอยุธยา มิได้มีกล่าวถึง วัดนี้ จะมีเฉพาะในอธิบายภูมิแผนที่พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าด้วย   วังเจ้านายก็จะเป็นตำหนักเครื่องไม้  กำแพงอิฐก็น่าจะไม่ใคร่มีคงจะเป็นรั้วเสาไม้แก่น เพราะตั้งแต่ได้ตรวจค้นมา ก็พบวังเดียว ที่กำแพงก่ออิฐและมีรากตำหนักเป็นตึก   วังนั้นอยู่ริมคลองบ้านบาตรตรงหลังวัดพิไชยออกไป และอยู่ใกล้กับวัดโพธารามได้พบแผ่นศิลาจารึกที่วัดโพธารามแต่แตกระจาย  ตัวอักษรกระเทาะ         อ่านไม่ได่ความเสียมาก ที่อ่านได้ในตอนต้นมีความว่าวัดนี้เดิมชื่อวัดเพ็ชร์ แต่ชำรุด         เจ้าฟ้ารัศมีศรีสุริยวงศ์พงศ์กษัตริย์ทรงปฏิสังขรณ์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่าวัดโพธาราม  จึงเห็นว่าวังนั้นอยู่ใกล้กับวัด   คงเป็นเจ้าของวังเป็นผู้ปฏิสังขรณ์   วัดโพธารามจึงได้ลงไว้ในแผนที่ว่าเป็นวังเจ้าฟ้ารัศมี  
 วัดโพธาราม นี้ เป็นวัดอยู่ริมคลองบ้านบาตร ระหว่างวัดพิชัย กับวัดเจ้าฟ้าดอกเดื่อ ไม่ได้อยู่ติดกับชายทุ่งใด จึงไม่น่าจะเป็นวัดเดียวกับวัดโพธาราม ที่มีกล่าวถึงคำให้การขุนหลวงหาวัด หากกำหนดเอาชื่อวัดโพธาราม เป็นหลักในการพิจารณา เมื่อเทียบกับแผนที่พระยาโบราณแล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่คนละทิศกัน 

 หากกำหนดด้วยทิศทางที่ตั้งว่า อยู่นอกกรุงทิศตะวันตกเฉียงเหนือเมือง  มีชื่อ วัดอยู่ริมทุ่งภูเขาทอง ชื่อ “วัดลานโพธิ์” แม้ชื่อจะเปลี่ยนไป แต่ก็สมด้วยเหตุผลว่า ว่า 

ในเดือน ๓  ทำพิธีธัญญาเธาะ  หรือ พิธีเผาซังข้าวในนา  หลังเก็บเกี่ยวแล้ว โดยมีความเชื่อว่าเป็นการ ส่งแม่โพสพกลับสู่ถิ่นเดิมหลังเสร็จสิ้นการช่วยเหลือมนุษย์ให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารแล้ว 

ดังนั้น วัดลานโพธิ์ ริมทุ่งภูเขาทองน่าจะมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทิศทางและเหตุผล

หมายเหตุ : ทั้งสองวัด ถูกทำลาย สูญไปหมดแล้ว

เครดิตภาพ : สุรเจตน์ เนื่องอัมพร
เครดิตภาพ : กูเกิล